บทความอัพเดทล่าสุดเมื่อ September 30, 2023

ก่อสร้างบ้าน ทั้งทีสิ่งที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งที่หนีไม่พ้นเลยก็คือ การก่อผนัง ซึ่งการเลือกวัสดุในการก่อสร้าง บางบ้านอาจจะใช้ไม้ บางบ้านอาจจะทำเป็นบ้านดิน แต่แน่นอนว่าบ้านส่วนใหญ่ในปัจจุบันใช้อิฐเกือบทั้งหมด ซึ่งเป็นที่นิยมเพราะมีราคาที่ถูก และมีความแข็งแรง โดยอิฐสร้างบ้านก็มีมากมายหลายประเภทให้เลือกใช้ แต่วันนี้เราจะมานำเสนออิฐที่เมืองไทยนิยมใช้ อย่างอิฐมอญ และอิฐคอนกรีต ว่ามีคุณสมบัติ ความเหมือน และความต่าง กันอย่างไร นอกจากนี้ เรายังอยากนำเสนอตัวเลือกผนังบ้านรูปแบบใหม่อย่าง ผนังสมาร์ทบอร์ด เทคโนโลยีทดแทนอิฐที่น่าสนใจ รวมไปถึงแชร์เคล็ดลับการสร้างผนังอาคารชิดริมรั้ว ไม่ให้เกิดปัญหาตามมากัน ถ้าพร้อมแล้วไปดูกัน


1. อิฐมอญ

อิฐมอญ คือ อิฐดินเผาที่สร้างมาจากดินเหนียว ผสมกับแกลบ และน้ำ นำมานวดกวนให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน จากนั้นก็เทลงในแม่พิมพ์ นำมาตัดเป็นท่อน ตามการใช้งาน จากนั้นนำไปเผา ขนาดมาตรฐานของอิฐมอญคือ กว้าง 5.5 เซนติเมตร ยาว 14 เซนติเมตร และหนา 3 เซนติเมตร

ข้อดีของอิฐมอญ เป็นอิฐที่ได้รับความนิยม และใช้กันมาอย่างยาวนาน มีความแข็งแรงทนทานกว่าอิฐชนิดอื่นๆทั่วไป ไม่มีปัญหาในการฉาบแล้วเกิดการร้าว เพราะมีมวลที่แน่น แถมมีราคาที่ถูกกว่าอิฐคอนกรีตอีกด้วย

ข้อเสียของอิฐมอญ ดูดซึมน้ำไม่ค่อยได้ ด้วยความหนาแน่นของมวลที่มาก มักไม่นิยมนำไปใช้ในการก่อผนังห้องน้ำ ขนาดเล็กกว่าอิฐคอนกรีต จึงทำให้ต้องใช้จำนวนมากกว่า

อิฐมอญ


2. อิฐคอนกรีต

อิฐคอนกรีต คือ อิฐที่่ทำมาจากวัสดุคอนกรีต ทำมาจากปูนซีเมนต์พอร์ตแลนด์ ผสมกับทราย ปูนขาว น้ำ ยิบซั่ม และสารเคมีอีกหลายชนิด มีส่วนผสมเฉพาะตัว เป็นการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีเครื่องจักรเข้าช่วย โดยนำเข้าเครื่องจักรจากต่างประเทศ ซึ่งอิฐคอนกรีตเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม

ข้อดีของอิฐคอนกรีต น้ำหนักเบา มวลน้อย ความหนาแน่นต่ำ ทนไฟ ทนความร้อน ราคาแพงกว่าอิฐมอญจริงแต่ถ้าเทียบด้วยขนาดการใช้งาน อิฐคอนกรีตถือว่าถูกกว่า

ข้อเสียของอิฐคอนกรีต ไม่มีความทนทานเท่าอิฐมอญ

อิฐคอนกรีต


สิ่งที่เห็นได้ชัดระหว่างอิฐทั้งสองก้อนก็คือ ขนาดและความทนทาน อิฐมอญจะทนทานกว่าแต่มีขนาดเล็ก ส่วนอิฐคอนกรีตจะไม่ค่อนทนแต่มีขนาดที่ใหญ่กว่าอิฐมอญ ซึ่งก็แล้วแต่ผู้ก่อสร้างว่าจะเลือกอิฐแบบไหน อาจจะแตกต่างกันบ้าง แต่โดยรวมก็สร้างบ้านหนึ่งหลังได้เหมือนกัน


สิ่งที่ควรรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับก่อผนัง

แต่หากคุณเป็นคนไม่ชอบบ้านแบบก่ออิฐ ในปัจจุบันก็มีทางเลือกการก่อผนังบ้านรูปแบบใหม่ที่น่าสนใจอย่างการใช้ ผนังสมาร์ทบอร์ด ที่อำนวยความสะดวกได้มากขึ้น นอกจากนี้เรายังนำเคล็ดลับการสร้างผนังอาคารชิดริมรั้ว มาฝากเพิ่มเติมด้วย ลองไปดูกันว่าจะมีข้อมูลที่น่าสนใจอะไรบ้าง


ผนังสมาร์ทบอร์ด

ทำความรู้จัก ผนังสมาร์ทบอร์ด เทคโนโลยีทดแทนอิฐที่น่าสนใจ

ผนังสมาร์ทบอร์ดเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่ไม่ชอบการใช้ผนังอิฐในบ้าน ผนังสมาร์ทบอร์ดเป็นวัสดุใหม่ที่ใช้แผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์แทนการใช้อิฐ ผนังสมาร์ทบอร์ดมีความสะดวกสบายมากขึ้น เช่น ให้ความทนทานต่อสภาพอากาศภายนอกที่ผันแปรตลอดเวลา และเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่ต้องการผนังที่ไม่รั่วซึม ไม่มีเสียงดังจากภายนอก และมีความปลอดภัย เช่น ป้องกันการขโมย การระเบิดไฟฟ้า การร้องไห้ภายในหรือจากภายนอก โดยเราสามารถสรุปความแตกต่างระหว่างอิฐและของผนังสมาร์ทบอร์ดได้ดังนี้


1. การเก็บเสียงรบกวน

การกั้นห้องภายในทั่วไป เช่น ห้องน้ำ ห้องนอน ห้องครัว ควรมีค่า STC 38-40 โดยประมาณ หากใช้แผ่นสมาร์ทบอร์ดหนา 8 มม. ติดตั้งบนโครงคร่าวสำเร็จแล้ว จะได้ค่าเก็บเสียงรบกวนประมาณ STC 39 แต่หากเป็นผนังก่ออิฐมอญครึ่งแผ่นฉาบปูนสองด้าน มีค่าเก็บเสียงอยู่ที่ STC 38


2. ความแข็งแรง

การก่อผนังด้วยอิฐมีความแข็งแรงและรองรับน้ำหนักได้มากกว่าการใช้แผ่นสมาร์ทบอร์ด โดยอิฐสามารถรับน้ำหนักได้ 30 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ในขณะที่สมาร์ทบอร์ดสามารถรองรับน้ำหนักได้สูงสุดถึง 80 กิโลกรัมต่อจุด แต่เหมาะกับการแขวนของที่มีน้ำหนักประมาณ 3-4 กิโลกรัมเท่านั้น


3. ประสิทธิภาพในการกันความชื้น

แผ่นผนังสมาร์ทบอร์ดจะมีคุณสมบัติพิเศษคือไม่เปื่อยยุ่ย ไม่บวม น้ำไม่ซึมผ่านไปอีกด้านหนึ่ง เมื่อติดตั้งผนังสมาร์ทบอร์ดเสร็จเรียบร้อยแล้วแนะนำว่าให้ทาสีรองพื้นปูนเก่า 1 ชั้นและทาทับด้วยสีน้ำอะคริลิกเพื่อการใช้งานที่ยาวนานมากขึ้น ในขณะที่ผนังก่ออิฐซึ่งเป็นวัสดุที่มีการดูดซึมน้ำสูง จึงต้องใช้ควบคู่ไปกับการฉาบปูนทับหน้าผนังด้านที่ต้องสัมผัสกับภายนอก เพื่อกันไม่ให้น้ำหรือความชื้นซึมผ่านเข้ามาภายในบ้านจนเกิดปัญหาได้


4. ประสิทธิภาพในการกันความร้อน

การเลือกใช้วัสดุผนังในประเทศไทยควรคำนึงถึงการกันความร้อน อิฐมอญเป็นวัสดุที่มีการสะสมความร้อนอยู่ในตัวเอง การใช้ผนังก่ออิฐจะทำให้ภายในบ้านมีอุณหภูมิสูงมากกว่าการใช้แผ่นสมาร์ทบอร์ด แต่สามารถแก้ไขได้โดยการก่อผนังอิฐสองชั้นแล้วเว้นช่องอากาศเอาไว้ตรงกลาง หรือใช้ฉนวนกันความร้อนเพื่อป้องกันความร้อนที่จะแผ่เข้าสู่ตัวบ้าน และยังช่วยประหยัดแอร์ทำให้ไม่ต้องเสียค่าไฟประหยัดเงินได้ในระยะยาวอีกด้วย


เคล็ดลับการสร้างผนังอาคารชิดริมรั้ว อย่างไรให้ไม่มีปัญหา

การก่อสร้างผนังของบ้านเป็นสิ่งที่สำคัญมาก โดยเฉพาะในกรณีที่เราต้องการสร้างผนังอาคารชิดริมรั้ว ที่หากวางแผนไม่ดีอาจะนำปัญหามาให้ปวดหัวได้ ดังนั้นการเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมสำหรับผนังก็เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ รวมไปถึงข้อระวังต่าง ๆ ที่ควรทราบก่อนสร้างหรือต่อเติม เราลองมาดูกันดีกว่าว่ามีเคล็ดลับอะไรน่าสนใจบ้าง


1. ควรรู้กฎหมายก่อนการต่อเติมบ้านให้ชิดริมรั้ว

เจ้าของบ้านที่ต้องการต่อเติมผนังบ้านให้ชิดริมรั้วต้องระมัดระวังต่อกฎหมายควบคุมอาคาร โดยผนังที่เป็นทึบจะต้องห่างจากเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 50 ซม. หรือไม่น้อยกว่า 1 เมตรสำหรับบ้านที่อยู่ในเขตกทม.ที่มีพื้นที่ใช้สอยเกิน 300 ตร.ม. และต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของที่ดินข้างเคียงเป็นลายลักษณ์อักษรเสียก่อน


2. การเลือกวัสดุก่อผนังที่ตอบโจทย์

อิฐเป็นวัสดุที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน อิฐมีความแข็งแรงและรองรับน้ำหนักได้มากกว่าผนังสมาร์ทบอร์ด แต่สมาร์ทบอร์ดก็เป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่ต้องการผนังที่มีคุณสมบัติที่ดีกว่าอิฐ เช่น ทนทานต่อสภาพอากาศภายนอก ป้องกันการรั่วซึม ไม่มีเสียงดังจากภายนอก และมีความปลอดภัย ทำให้คนที่ต้องการสร้างบ้านชิดริมรั้วมักเลือกวัสดุก่อผนังประเภทนี้มากกว่า


3. รู้จัก 2 เทคนิคช่วยป้องกันผนังขึ้นรา

เจ้าของบ้านควรติดตั้ง Flashing เพื่อป้องกันน้ำฝนไม่ให้ไหลซึมเข้าไปในร่อง และรื้อกระเบื้องที่เสียไปก่อน ก่อนที่จะเลือกทำการแก้ไขโดยมี 2 แนวทางเลือกดำเนินการแก้ไขดังนี้

  • เทคนิคที่ 1 : ทาผนังให้ไม่หนาแน่นมากคือใช้สีอะคริลิกประเภทที่สามารถให้ความชื้นระเหยได้ และต้องมีการระบายอากาศได้ดีภายในบ้าน
  • เทคนิคที่ 2 :ใช้วัสดุกันซึมแบบอีพ็อกซีทาผนังด้านใน แล้วค่อยทาสีหรือปูกระเบื้องตกแต่งตามความชอบ

เมื่อต่อเติมทำพื้นและผนังใหม่ควรหล่อคอนกรีตพื้นและผนังให้เป็นเนื้อเดียวกันโดยผสมน้ำยากันซึมเข้าไปรวมกับเนื้อคอนกรีต ความสูงของผนังที่หล่อก็ต้องสูงอย่างน้อย 1 เมตรเพื่อป้องกันปัญหาน้ำรั่วซึมที่ผนังและลดปัญหาความชื้นจากดิน ผนังให้ห่างออกจากรั้วอย่างน้อย 10 ซม.เพื่อที่จะได้ยื่นมือหรือลูกกลิ้งไปทาวัสดุกันซึมที่ผนังด้านที่ติดกับรั้วได้ ผนังที่เหลือก็สามารถก่ออิฐตามความสูงที่ต้องการ แล้วด้านบนของผนังให้ครอบปิดช่องว่างด้วย Flashing เพื่อป้องกันฝนอีกชั้นหนึ่ง


จากข้อมูลทั้งหมดเราจะเห็นได้ว่าการ ก่อสร้างบ้าน และเลือกวัสดุก่อผนังนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมากในการก่อสร้างบ้าน โดยเฉพาะการสร้างผนังอาคารชิดริมรั้วที่มักมีปัญหากวนใจเจ้าของบ้านได้ หากไม่วางแผนให้ดีเสียก่อน อย่างไรก็ตาม ทางที่ดีที่สุดคุณควรตั้งงบประมาณและปรึกษาช่างที่มีประสบการณ์ เพื่อวางแผนการเลือกวัสดุก่อสร้างผนังที่ตอบโจทย์ความต้องการของคุณมากที่สุด

Con Mueangsak

เขียนโดย Con Mueangsak

โฟร์แมนเป็นงานประจำ เขียนบทความเกี่ยวกับช่างและงานก่อสร้างเป็นงานเสริม รักการก่อสร้างเป็นชีวิตจิตใจ สนใจติดต่องานก่อสร้างติดต่อในอีเมลได้เลยครับ ผู้เขียนเว็บไซต์ Constructacon

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save