บทความอัพเดทล่าสุดเมื่อ June 15, 2023

การสร้างบ้าน นอกจากจะต้องเก็บเงินเพื่อเตรียมกู้ ยังต้องให้ความสำคัญกับเรื่องเอกสารในการขออนุญาตปลูกสร้างบ้าน รวมถึงขั้นตอนการขออนุญาตก่อสร้างบ้าน ความจริงแล้วขั้นตอนต่าง ๆ เหล่านี้เจ้าของบ้านสามารถเตรียมการไว้ก่อนได้ เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น ในบทความนี้จะมากล่าวถึงขั้นตอนการขออนุญาตก่อสร้างบ้าน รวมถึงการเตรียมเอกสารที่ต้องใช้ดำเนินการ


ขั้นตอนการขออนุญาตก่อสร้างบ้าน

1_ขั้นตอนการขออนุญาตก่อสร้างบ้าน

สำหรับขั้นตอนการขออนุญาตก่อสร้างบ้าน จะสามารถกล่าวได้อยู่ทั้งหมด 4 ขั้นตอน ดังนี้

  1. ยื่นคำขออนุญาตปลูกสร้างบ้าน ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ในเขตนั้น
  2. ที่ว่าการอำเภอท้องที่ตรวจสอบแบบแปลน โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีการประกาศใช้กฎหมายควบคุมการก่อสร้างอาคารหรือกฎหมายว่าด้วยผังเมือง บ้าน หรืออาคาร อาคารทุกประเภทจะต้องมีใบอนุญาตก่อสร้างอาคารก่อน และต้องก่อสร้างตามแบบทีได้รับอนุมัติจึงจะสามารถสร้างบ้านได้ดังที่ต้องการ
  3. รับเอกสารขออนุญาตสร้างบ้าน หากเป็นกรณีไม่ได้รับอนุญาต อาจมีการแก้ไขในรายละเอียดบางประการ ต้องแก้ไขและขออนุญาตใหม่
  4. เมื่อได้รับเอกสารขออนุญาตปลูกสร้างบ้านแล้ว ควรทำสำเนา ทั้งเก็บไว้ที่ตนเอง สถาปนิก วิศวกร และผู้รับเหมา หรือบริษัทเพื่อใช้ในการสร้างบ้านต่อไป
  5. มีหลักฐานอะไรบ้างในการยื่นขออนุญาตสร้างบ้าน

หลักฐานที่ใช้เพื่อยื่นขออนุญาตสร้างบ้านนั้น มีดังนี้

2_ขั้นตอนการขออนุญาตก่อสร้างบ้าน

  1. กรอกคำร้องขอเอกสารขออนุญาตก่อสร้างบ้าน อาคาร รื้อถอนอาคารหรือดัดแปลงอาคาร (ข.1)
  2. เอกสารแบบบ้านและรายละเอียดเกี่ยวกับการก่อสร้าง โดยมีสถาปนิกและวิศวกรลงนามรับรองแบบ (หากไม่มีสถาปนิกสามารถขอแบบบ้านมาตรฐานได้จากที่ว่าการอำเภอท้องที่ในจังหวัดนั้น ๆ)
  3. หนังสือรับรองของผู้ควบคุมงาน สถาปนิกผู้ออกแบบบ้าน และเอกสารจากวิศวกรก่อสร้าง
  4. สำเนาโฉนดที่ดินที่จะปลูกสร้างหรือเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น หรือกรณีเช่าที่ดินเพื่อสร้างบ้านจะต้องมีเอกสารสิทธิที่ได้รับมอบอำนาจจากเจ้าของด้วย
  5. ทะเบียนบ้านของเจ้าของอาคารหรือสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ถ้าเป็นกรณีนิติบุคคล ให้ใช้หนังสือรับรองการจดทะเบียน

เหตุใดจึงต้องขอเอกสารขออนุญาตสร้างบ้าน

3_ขั้นตอนการขออนุญาตก่อสร้างบ้าน

สาเหตุที่จำเป็นต้องดำเนินการยื่นขอเอกสารขออนุญาตสร้างบ้าน ก็เพื่อความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัยและชุมชน เนื่องจากกฎหมายการสร้างบ้านต่าง ๆ ที่ได้กำหนดไว้ คือ การป้องกันอันตรายจากอาคารทุกรูปแบบ เช่น ความแข็งแรงของโครงสร้าง ระยะห่างจากถนน และ ระยะห่างจากชุมชนโดยรอบ เพื่อไม่ให้มีการสร้างอาคารใหม่กระทบที่อยู่อาศัยเดิมของชุมชน ความแตกต่างการขออนุญาตก่อสร้างของบ้านจัดสรรกับบ้านสร้างเอง

การซื้อบ้านโครงการบ้านจัดสรร : การขออนุญาตจะเป็นหน้าที่เจ้าของโครงการ หรือบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ โครงการจัดสรรจะมีข้อบังคับ กฎระเบียบที่มากกว่าการก่อสร้างบ้านจำนวนน้อย ผู้ที่ซื้อบ้านในโครงการบ้านจัดสรร จะมีขั้นตอนการขออนุญาตก่อสร้างบ้านที่ไม่ยุ่งยาก รวมถึงไม่ต้องกังวลเรื่องขอน้ำประปา ไฟฟ้า บ้านเลขที่ เตรียมเงินให้พร้อมกู้ผ่านก็เข้าอยู่ได้เลย แต่ข้อเสียคือ แบบบ้านและพื้นที่ใช้สอยอาจไม่ครบทุกความต้องการ

บ้านสร้างเอง : มีข้อดีตรงแบบบ้านและพื้นที่ใช้สอย ฟังก์ชันบ้านที่ปรับแต่งได้ตามความต้องการมากกว่าเมื่อเทียบกับบ้านจัดสรร แต่ข้อเสียคืออาจจะยุ่งยากกับขั้นตอนการขออนุญาตก่อสร้างบ้าน ตั้งแต่การขออนุญาตก่อสร้างจนถึงการขอน้ำ ไฟ และบ้านเลขที่ หากใช้ผู้รับเหมาทั่วไปในการก่อสร้างขั้นตอนเหล่านี้ เจ้าของบ้านต้องดำเนินการทั้งหมดเอง แต่ถ้าใช้บริการบริษัทรับเหมาก่อสร้างบ้าน มีบริษัทจัดการให้ทุกขั้นตอน เพราะค่าดำเนินการต่าง ๆ เหล่านี้ถูกเก็บรวมกับราคาสร้างบ้าน


การต่อเติมบ้าน จำเป็นต้องขออนุญาตหรือไม่

4_ขั้นตอนการขออนุญาตก่อสร้างบ้าน

ไม่เพียงแค่การสร้างบ้านใหม่ที่ต้องขออนุญาตก่อสร้าง การต่อเติมบ้านก็ต้องขออนุญาตด้วยเช่นกัน การต่อเติมที่ต้องขออนุญาตคือการต่อเติมที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างเกิน 5 ตร.ม. แต่ที่ผ่านมาเจ้าของบ้านหลายรายที่ต่อเติมบ้านเกินเกณฑ์ที่กฎหมายเกี่ยวกับการสร้างบ้านกำหนดจะไม่ยื่นขออนุญาต และคิดว่าไม่เป็นไร เรื่องนี้มักเป็นเรื่องที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อเพื่อนบ้านหรือชุมชนใกล้เคียง

กรณีต่อเติมโครงสร้างเกิน 5 ตร.ม. ต้องมีใบอนุญาตก่อสร้าง ถ้าเจ้าของไม่ขออนุญาตให้ถูกต้อง หากมีปัญหาที่สร้างความเสียหายให้กับชุมชน เพื่อนบ้านใกล้เคียง ก็จะกลายเป็นเป็นความผิดร้ายแรง ดังนั้นแนะนำว่าควรขออนุญาตให้ถูกต้องหมายเหตุ: มีการปรับปรุงบ้านบางประเภท ที่ถูกยกเว้นไม่ต้องขออนุญาต

จะเห็นได้ว่าขั้นตอนการขออนุญาตก่อสร้างบ้าน มีความจำเป็นที่ทุกคนซึ่งอยากสร้างบ้านต้องดำเนินการ นอกจากจะต้องขออนุญาตสร้างบ้านแล้ว การต่อเติมบ้านก็ต้องได้รับอนุญาตด้วย เพื่อความปลอดภัยต่อผู้สร้างบ้านและชุมชนใกล้เคียง ไม่ให้เกิดความเสียหายหรือสร้างความเดือดร้อน หากมีปัญหาที่ทำให้ทั้งผู้เกี่ยวข้องและคนอื่นที่ไม่มีความข้องเกี่ยว ทางรัฐจะแก้ปัญหาด้วยการระงับก่อสร้างหรือหยุดสร้างถาวร


กฎหมายที่ต้องรู้ก่อนสร้างบ้าน 3 ชั้นที่สูงเกิน 10 เมตร

นอกจากคุณจะต้องรู้ขั้นตอนในการขออนุญาตก่อสร้างบ้านแล้ว กฎหมายที่ต้องรุ้ก่อนสร้างบ้านยังเป็นสิ่งสำคัญมากอีกสิ่งหนึ่ง การสร้างบ้านต้องมีการวางแผนและพิถีพิถันในการทำสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้การสร้างบ้านเป็นไปด้วยความราบรื่น และสามารถทำบ้านออกมาได้ตรงตามที่ต้องการ โดยควรรู้เกี่ยวกับกฎหมายในการสร้างบ้าน และการสร้างบ้าน 3 ชั้นที่มีความสูงเกิน 10 เมตรต้องปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด โดยมีกฎ 12 ข้อที่ต้องรู้ก่อนสร้างบ้าน

  1. เพื่อสร้างบ้าน 3 ชั้นที่ติดกับถนนสาธารณะในประเทศไทยจะต้องเว้นระยะห่างจากศูนย์กลางถนนไม่ต่ำกว่า 6 เมตรถ้าถนนกว้างน้อยกว่า 10 เมตร หรือเว้นระยะที่ 1/10 เมตรของความกว้างถนนถ้าถนนกว้าง 10-20 เมตร หรือเว้นระยะที่ 2 เมตรของแนวที่ดินถ้าถนนกว้างมากกว่า 20 เมตร และต้องเว้นระยะห่างในชั้นที่ 3 ไม่ต่ำกว่า 3 เมตรถ้าบ้านสูงเกิน 9 เมตร
  2. การก่อสร้างช่องเปิดกันที่กว้าง 2 เมตรและสูงเกิน 9 เมตรต้องมีการกันอยู่ 3 เมตรจากแนวดิน และการทำผนังทึบกัน 0.50 เมตรต้องติดชิดกับเขตได้เมื่อมีการอนุญาตและเซ็นยินยอมจากที่ดินข้างเคียงแล้ว
  3. ตามกฎหมาย การเว้นที่ว่างรอบอาคารจะต้องเป็น 1 เมตรสำหรับอาคารที่สูงไม่เกิน 15 เมตร และ 2 เมตรสำหรับอาคารที่สูงเกิน 15 เมตร โดยยกเว้นบ้านพักอาศัยที่มีพื้นที่ไม่เกิน 300 ตารางเมตร ซึ่งจะต้องกั้นผนังทึบที่ 1 เมตรถ้าพื้นที่เกิน 300 ตารางเมตร
  4. สำหรับบ้าน 3 ชั้นที่มีความสูงเกิน 10 เมตรจะต้องมีพื้นที่ว่างที่ปราศจากการมุงหลังคาอย่างน้อย 30%
  5. สำหรับบ้านที่มีความสูงเกิน 2 ชั้นและพื้นที่ใช้สอยเกิน 150 ตร.ม. จะต้องมีการคำนวณและลายเซ็นจากสถาปนิกและวิศวกร รวมถึงใบควบคุมงานจากทั้งสองฝ่ายด้วย
  6. สำหรับบ้าน 3 ชั้นที่มีความสูงเกิน 10 เมตรจะต้องมีพื้นที่สำหรับการทำช่องทางเดินไม่น้อยกว่า 1 เมตร
  7. สำหรับบ้าน 3 ชั้นที่มีความสูงเกิน 10 เมตร จะต้องมีการทำห้องนอนในอาคารให้มีความกว้างด้านแคบที่สุดไม่น้อยกว่า 2.5 เมตร และพื้นที่จะต้องมีไม่น้อยกว่า 8 ตารางเมตร
  8. สำหรับบ้าน 3 ชั้นที่มีความสูงเกิน 10 เมตร จะต้องมีความระดับความสูงจากพื้นไปจนถึงเพดานภายในตัวบ้านไม่น้อยกว่า 2.6 เมตร
  9. การทำบันไดของอาคารสำหรับบ้าน 3 ชั้นที่มีความสูงเกิน 10 เมตรต้องมีความกว้างสุทธิไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตร และมีความสูงไม่เกิน 3 เมตร ส่วนของลูกตั้งจะต้องสูงไม่เกิน 20 เซนติเมตร พื้นหน้าบันไดจะต้องมีความกว้างและยาวไม่น้อยกว่าความกว้างของบันได หากว่าบันไดมีความสูงเกิน 3 เมตรจะต้องมีชานพักบันไดเอาไว้ทุก ๆ 3 เมตร และชานพักบันไดก็จะต้องมีความกว้างและความยาวไม่น้อยกว่าความกว้างของบันได ส่วนของระยะดิ่งจากขั้นบันไดไปจนถึงส่วนที่ต่ำสุดของอาคารที่อยู่เหนือขึ้นไปจะต้องมีความสูงไม่น้อยกว่า 1.9 เมตร
  10. สำหรับบ้าน 3 ชั้นที่มีความสูงเกิน 10 เมตร ในการทำห้องน้ำและห้องส้วมแยกกัน จะต้องมีพื้นที่ในแต่ละห้องไม่ต่ำกว่า 0.9 ตารางเมตร และหากว่าห้องส้วมหรือห้องอาบน้ำมีการใช้งานร่วมกัน จะต้องมีพื้นที่ของบ้านไม่ต่ำกว่า 1.5 ตารางเมตร และต้องมีช่องระบายอากาศอยู่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของพื้นที่ห้อง และความสูงจากพื้นของห้องน้ำไปจนถึงฝ้าเพดานจะต้องไม่ต่ำกว่า 2 เมตร
  11. สำหรับบ้าน 3 ชั้นที่มีความสูงเกิน 10 เมตรจะต้องมีการติดตั้งระบบเตือนอัคคีภัยและเครื่องดับเพลิงตามแบบขออนุญาตก่อสร้างบ้าน
  12. สำหรับบ้าน 3 ชั้นที่มีความสูงเกิน 10 เมตร จะต้องมีการสร้างประตูหน้าต่างให้อยู่ห่างจากรั้วบ้านอย่างน้อย 3 เมตร โดยอาจต้องพิจารณาจากขนาดของที่ดินว่าระยะห่างควรเท่าไหร่

สำหรับใครที่กำลังศึกษาเกี่ยวกับขั้นตอนการขออนุญาตก่อสร้างบ้านและข้อกฎหมายต่างๆ หวังว่าบทความนี้จะได้ความรู้และสาระครบถ้วนไม่ว่าจะเป็น ขั้นตอนการขออนุญาตก่อสร้างบ้าน, หลักฐานที่ใช้เพื่อยื่นขออนุญาตสร้างบ้าน, เหตุผลว่าทำไมจึงต้องขอเอกสารขออนุญาตสร้างบ้าน, ข้อควรรู้เกี่ยวกับการต่อเติมบ้าน และ ข้อกฎหมายที่ต้องรู้ก่อนสร้างบ้าน 3 ชั้น ถ้าใครรู้จักคนที่กำลังศึกษาขั้นตอนเหล่านี้แชร์บทความนี้ไปให้เขาอ่าน รับรองว่าได้ความรู้ครบถ้วนแน่นอนครับ

เขียนโดย Con Mueangsak

โฟร์แมนเป็นงานประจำ เขียนบทความเกี่ยวกับช่างและงานก่อสร้างเป็นงานเสริม รักการก่อสร้างเป็นชีวิตจิตใจ สนใจติดต่องานก่อสร้างติดต่อในอีเมลได้เลยครับ ผู้เขียนเว็บไซต์ Constructacon

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save