บทความอัพเดทล่าสุดเมื่อ June 15, 2023

การมีบ้านเป็นของตัวเองสามารถทำได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็น ซื้อบ้านในโครงการบ้านจัดสรร ปลูกบ้าน หรือแม้แต่ใช้บริการของบริษัทรับสร้างบ้าน แต่ถ้าอยากได้บ้านดี ราคาดี เลือกแบบบ้านรวมถึงทำเลที่ตั้งได้เอง คงไม่มีรูปแบบใดที่เหมาะสมกว่าการใช้บริการของบริษัทรับสร้างบ้าน หลังจากสร้างบ้านในฝันของตัวเองสำเร็จแล้ว ก่อนเข้าที่พักยังมีสิ่งที่ต้องทำหลังได้รับมอบบ้านจากบริษัทรับสร้างบ้าน ซึ่งจะกล่าวต่อไปในบทความนี้


สิ่งที่ต้องทำหลังได้รับมอบบ้านจากบริษัทรับสร้างบ้านมีอะไรบ้าง

3 สิ่งที่ต้องทำหลังได้รับมอบบ้านจากบริษัทรับสร้างบ้าน 1

เชื่อว่าหลาย ๆ คนล้วนแล้วแต่ต้องการมีบ้านเป็นของตนเอง จึงทำให้ต้องมีการดำเนินการสร้างบ้าน ซึ่งจะมีขั้นตอนต่าง ๆ ที่ต้องปฏิบัติตาม เพื่อให้บ้านที่ได้นั้นเป็นไปตามกฎหมายและมีบ้านตรงกับความต้องการของตนเอง และหลังจากการตรวจรับบ้านโดยบริษัทรับสร้างบ้านเสร็จเรียบร้อยแล้ว หลายคนอาจจะยังสับสนว่าเราต้องทำอะไรอีกก่อนเข้าบ้านที่สมบูรณ์แบบ หัวนี้จะมาพูดถึง สิ่งที่ต้องทำหลังได้รับมอบบ้านจากบริษัทรับสร้างบ้านซึ่งกล่าวได้ดังต่อไปนี้
การขอเลขที่บ้านและทะเบียนบ้าน
ในการขอบ้านเลขที่หลังจากที่บ้านสร้างเสร็จเป็นสิ่งจำเป็น เนื่องจากเราจะต้องใช้ทะเบียนบ้านในการยื่นขอติดตั้งไฟฟ้าหรือประปาภายในบ้าน เอกสารที่ต้องเตรียมในการขอทะเบียนบ้าน ได้แก่

  • ใบรับแจ้งที่อยู่อาศัย (ท.ร.9) ที่กำนันหรือผู้ใหญ่บ้านออกให้
  • ใบอนุญาตปลูกสร้าง
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  • เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินในอาคาร เช่น โฉนดที่ดิน น.ส.3 ส.ป.ก.

นำไปยื่นได้ที่สำนักงานเทศบาล สำนักงานเขต ที่ว่าการอำเภอ หรือกิ่งอำเภอ ที่นายทะเบียนหรือเจ้าหน้าที่ กรณีสร้างบ้านในเขตเทศบาล บ้านเลขที่และสมุดทะเบียนบ้านจะกำหนดภายใน 7 วัน และกรณีสร้างบ้านนอกเขตเทศบาล จะดำเนินการภายใน 30 วัน และหากไม่มีการขอทะเบียนบ้านภายใน 15 วัน หลังสร้างบ้านเสร็จจะถูกปรับเป็นเงินจำนวนไม่เกิน 1,000 บาท

แต่คุณไม่จำเป็นต้องทำตามขั้นตอนเหล่านี้ทั้งหมด เพราะบริษัทรับสร้างบ้านบางแห่ง ได้มีบริการยื่นขออนุญาตก่อสร้าง รวมถึงการขอเลขที่บ้านอีกด้วย โดยไม่เก็บค่าดำเนินการใด ๆ เรียกได้ว่าใช้บริการสร้างบ้านที่มีความคุ้มค่าอย่างยิ่ง ด้วยเหตุนี้จึงทำให้คนจำนวนมากนิยมใช้บริการสร้างบ้านกับบริษัทที่เชื่อถือได้และให้บริการอย่างครบวงจร เพื่อไม่ให้เกิดความยุ่งยากในการดำเนินการเอง และบางคนก็อาจไม่มีเวลาว่างมากพอ ฉะนั้นการบริการในรูปแบบนี้จึงเป็นที่ต้องการอย่างยิ่งกับคนเหล่านี้


สอบถามการติดตั้งไฟฟ้าและประปา

3 สิ่งที่ต้องทำหลังได้รับมอบบ้านจากบริษัทรับสร้างบ้าน 2

ในขั้นตอนก่อนการก่อสร้างบ้าน จะมีการขอติดตั้งสาธารณูปโภคพื้นฐานเช่นไฟฟ้าและน้ำประปาชั่วคราวเพื่อใช้ในการก่อสร้าง ดังนั้นเมื่อสร้างบ้านกับบริษัทรับสร้างบ้านเสร็จเรียบร้อย เจ้าของบ้านต้องมีสิ่งที่ควรทำคือ เปลี่ยนจากการขอติดตั้งไฟฟ้าและประปาแบบชั่วคราวมาเป็นแบบถาวร

ความแตกต่างของการขอใช้ไฟฟ้าและประปาชั่วคราวกับถาวร คือ คุณต้องมีทะเบียนบ้านก่อนจึงจะยื่นขอใช้ไฟฟ้าและประปาถาวรได้ และเอกสารที่ต้องเตรียมในการยื่นขอติดตั้งไฟฟ้าและประปา ได้แก่

  • สำเนาบัตรประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • สัญญาเช่าหรือสัญญาซื้อขาย
  • หนังสือมอบอำนาจกรณีเจ้าของบ้านไม่สามารถดำเนินการเองได้ จำเป็นต้องมีใบยินยอมจากผู้เป็นเจ้าของบ้านหากบ้านแห่งนั้นไม่ใช่ของตน พร้อมรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเอกสารที่จำเป็น หรือขั้นตอนการขอใช้ไฟฟ้าและน้ำประปา

อย่างไรก็ตาม สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การไฟฟ้านครหลวง การประปาส่วนภูมิภาค และการประปานครหลวง ซึ่งคนที่ดำเนินการเหล่านี้จำเป็นต้องมีรายละเอียดข้อมูลที่ครบถ้วน เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดขณะดำเนินการ อันจะส่งผลเสียให้กับผู้สร้างบ้านได้ในอนาคต


ทำประกันภัยบ้าน

3 สิ่งที่ต้องทำหลังได้รับมอบบ้านจากบริษัทรับสร้างบ้าน 3

กว่าผู้สร้างบ้านจะได้บ้านในฝันนั้นเป็นเรื่องที่ยากมาก ต้องใช้เงินลงทุนและความพยายามอย่างมาก ดังนั้นการทำประกันบ้านเผื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน จึงเป็นการคิดที่รอบคอบ เป็นการป้องกันที่ดีก่อนที่จะเกิดปัญหา ประกันบ้านมีหลายกรมธรรม์ให้เลือก คุณสามารถเลือกกรมธรรม์ที่คุ้มค่าและเหมาะสมกับเงินในกระเป๋าของคุณ ไม่ว่าจะเป็นภัยพิบัติ อัคคีภัย หรืออุบัติเหตุ

การมีประกันสำหรับบ้านของผู้เป็นเจ้าของบ้านจะช่วยให้ได้รับการชดเชยอย่างเต็มที่ และในกรณีที่ต้นตอของอุบัติเหตุมาจากที่บ้านของคุณแต่ความเสียหายลุกลามไปที่อื่น ประกันบ้านสามารถครอบคลุมค่าใช้จ่ายนี้ได้ ถือได้ว่าการทำประกันบ้านมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าข้ออื่น ๆ เพื่อให้สามารถอาศัยในบ้านอย่างปลอดภัยและสบายใจ

สิ่งอื่นๆที่ควรดูทั้งก่อนและหลังรับมอบบ้าน

หากคุณกำลังคิดจะสร้างบ้านของคุณเอง สามารถใช้บริการกับบริษัทสร้างบ้านที่เชื่อถือได้และให้บริการอย่างครบวงจร ซึ่งจะคอยให้คำปรึกษาผ่านช่องทางการติดต่อต่าง ๆ โดยจะมีหลายช่องทางให้เลือก พร้อมทั้งแบบบ้านที่หลากหลาย สามารถเลือกได้อย่างอิสระตามต้องการ และยังมีบริการจัดการเรื่องบ้านที่เกี่ยวข้อง จึงทำให้ผู้เป็นเจ้าของบ้านไม่ต้องดำเนินการเองให้ยุ่งยาก และเหมาะอย่างยิ่งกับคนที่ไม่ค่อยมีเวลาว่างเท่าไหร่นัก ซึ่งนอกจากนี้ยังมีสิ่งอื่นๆที่ต้องดูหลังจากรับมอบบ้านอีก เช่น การตรวจสอบหลังคา , ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานอื่นๆของบ้าน และการขอเลขที่บ้าน


วิธีตรวจรับงานหลังคายังไงไม่ให้พลาดก่อนรับมอบบ้าน

การตรวจรับบ้านหลังจากก่อสร้างเสร็จเป็นสิ่งสำคัญเพราะจะช่วยตรวจหาข้อบกพร่องและให้ช่างแก้ไขก่อนเซ็นต์รับมอบบ้าน แต่เจ้าของบ้านมักจะลืมตรวจสอบคุณภาพการมุงหลังคา ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ยากแต่ความสำคัญมาก และสามารถตรวจเองได้ง่ายๆ หากรู้เทคนิคในการตรวจดังต่อไปนี้

1.ตรวจสอบความเรียบร้อยขององค์ประกอบต่างๆ

การตรวจสอบหลังคาควรใช้สายตาเพื่อตรวจสอบความเรียบร้อยและรูปลักษณ์ภายนอก และตรวจสอบในจุดที่สำคัญๆ เช่น กระเบื้องควรมุงให้ได้ในแนวระดับ ไม่แอ่นหรือยุบ และอุปกรณ์ที่นำมาใช้ยึดติดหลังคาอยู่ในสภาพสมบูรณ์ นอกจากนั้นยังต้องตรวจสอบบริเวณตะเข้รางและช่วงรอยต่อตรงบริเวณรางน้ำเชิงชาย และแนวกระเบื้องด้วยว่าบริเวณชายคาได้ระดับ ไม่ตกหรือย้อยลง

2. ตรวจสอบการรั่วซึม

การตรวจสอบจุดเสี่ยงการรั่วซึมของหลังคาควรให้ความสำคัญกับการตรวจสอบบริเวณรอยต่อและบนผืนหลังคา โดยเฉพาะตรงบริเวณครอบสันหลังคาและตะเข้สันซึ่งจะมีการติดตั้งครอบเพื่อเป็นตัวปิดรอยต่อระหว่างหลังคา 2 ผืน และบริเวณแนวรอยต่อกระเบื้องหลังคาชนผนัง ควรตรวจดูสภาพว่าต้องไม่มีรอยเกิดการแตกร้าว มีขนาดปีกที่ยื่นออกมาคลุมหลังคาได้เหมาะสม รวมทั้งระยะห่างจากกระเบื้องไม่สูงจนเกินไป ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดการรั่วซึมในภายหลังได้อีกด้วย

3. ตรวจสอบช่องตามหลังคา

การปิดช่องทางเข้าออกของสัตว์ต่างๆ เช่น หนู นก แมลง บนช่องหลังคาและบริเวณชายคาภายนอกบ้าน เป็นวิธีการกันก่อกวนความสงบสุขของคนในบ้าน โดยควรติดตั้งแผ่นกันนกหรือตัดไม้ตามรูปลอนกระเบื้องอย่างมิดชิด และใส่มุ้งลวดกันแมลงไว้ด้วย


ตรวจสอบระบบพื้นฐานอื่นๆก่อนรับมอบบ้าน

การตรวจรับบ้านก่อนโอนกรรมสิทธิ์เป็นสิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึงอย่างมากสำหรับคนที่จะซื้อบ้านหรือสร้างบ้านเอง เพราะการตรวจรับบ้านอย่างละเอียดจะช่วยป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต และในกรณีที่พบปัญหา โครงการจะต้องรับผิดชอบ ดังนั้นควรตรวจรับบ้านอย่างละเอียด โดยไม่ควรวางใจเพียงแค่มาตรฐานของโครงการ แต่ต้องตรวจสอบทุกส่วนของบ้านโดยเฉพาะการตรวจระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานอย่างละเอียดเพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้เสมอ

1. ตรวจระบบประปา

เพื่อตรวจสอบระบบประปาในบ้าน ควรทดสอบเปิดก๊อกน้ำทุกตัว ทดสอบเทน้ำลงบนจุดที่มีการระบายน้ำ เปิดน้ำดูว่าปั้มน้ำทำงานปกติและน้ำแรงพอหรือไม่ ตรวจสอบภายในห้องน้ำว่ามีครบหรือไม่ และตรวจสอบฝาปิดท่อน้ำแบบกันกลิ่น สำหรับการตรวจรับบ้านใหม่อย่างมืออาชีพ ควรตรวจสอบทุกอุปกรณ์ในห้องน้ำ

2. ตรวจระบบไฟฟ้า

เพื่อตรวจสอบระบบไฟฟ้าในบ้าน ควรทดสอบการเปิด-ปิดไฟทุกดวง ตรวจสอบไขควงวัดกระแสไฟ ตรวจสอบการเดินสายไฟในห้องน้ำ ตรวจสอบการร้อยสายไฟใส่ท่อ ทดสอบปิดไฟทุกดวงและตรวจสอบดูว่ามิเตอร์ไฟวิ่งหรือไม่ ตรวจสอบดูว่าสายดินของ Main Breaker ควรฝังดินลึกลงไปประมาณ 2 เมตร และเดินสายไฟ 3 เส้นเหมือนกัน รวมทั้งยางกันน้ำ และกล่องครอบกันน้ำด้วย

3. ตรวจระบบพื้น

เพื่อตรวจสอบระบบพื้น ควรทำการเดินเท้าเปล่าเพื่อตรวจสอบการปูพื้นว่าเรียบร้อยหรือไม่ และลองใช้เหรียญเคาะพื้นเพื่อตรวจสอบเสียงว่าโป่งหรือไม่ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ลูกแก้วกลิ้งไปบนพื้นเพื่อตรวจสอบว่าพื้นเป็นหลุมหรือไม่

4. ตรวจงานกำแพง

เมื่อตรวจงานกำแพงควรเช็คว่าสะอาดหรือไม่ มีรอยเปื้อนหรือวอลเปเปอร์ที่ติดไม่ดีหรือไม่ ตรวจสอบขอบบัวผนังว่ามีช่วงที่โป่งหรือเว้าตัวหรือไม่ ตรวจสอบสีนอกอาคารว่ามีร่องรอยรั่วหรือร้าวแตกตัวออกมาหรือไม่ ตรวจสอบประตูและหน้าต่างว่าปิดเข้าได้สนิทหรือไม่ และทดสอบไขกุญแจดูทุกดอกด้วย

ตรวจงานใต้หลังคา

การตรวจงานใต้หลังคาควรทำในช่วงหน้าฝนเพื่อตรวจสอบการรั่วซึม โดยการขึ้นไปเหยียบโครงเหล็กหลังคาและใช้ไฟฉายส่อง เมื่อพบว่ามีแสงลอดออกมาจากด้านนอกแสดงว่ามีรอยหลังคารั่ว ต้องรีบแจ้งช่างมาแก้ไข นอกจากนี้ยังต้องตรวจสอบฉนวนกันความร้อนใต้หลังคาด้วยว่ามีการฉีกขาดหรือใส่ไม่ครบหรือไม่ และต้องรีบแจ้งให้มาดำเนินการในทันที


การขอเลขที่บ้านต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง

เมื่อได้รับมอบบ้านมาแล้ว และหากไม่มีความรู้ในการขอเลขที่บ้านใหม่ ควรเตรียมตัวด้วยข้อมูลเกี่ยวกับเอกสารที่ต้องใช้ขอเลขที่บ้าน ไม่ต้องกลับไปกลับมาให้เสียเวลา โดยใช้เอกสารดังนี้ สำหรับเอกสารที่ใช้ขอทะเบียนบ้านและเลขที่บ้าน ประกอบด้วย

  • ใบรับแจ้งบ้านหรือเอกสารที่ออกโดยราชการส่วนท้องถิ่น (ท.ร.9)
  • สัญญาซื้อขายบ้าน
  • เอกสารหรือโฉนดที่ดินแสดงการครอบครองที่ดินปลูกสร้าง
  • บัตรประชาชนเจ้าของบ้าน
  • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ขอจดทะเบียนบ้านหรือผู้รับมอบอำนาจ
  • และรูปถ่ายอาคารที่สร้างเสร็จแล้วทั้ง 4 ด้าน

สำหรับคนที่สร้างบ้านใหม่และกำลังเตรียมการรับมอบบ้านหวังว่าบทความนี้จะช่วยให้คุณคลายปัญหาคาใจหลายๆอย่างว่าต้องดำเนินการอย่างไรบ้างตั้งแต่การตรวจสอบสิ่งต่างๆก่อนรับมอบบ้าน เช่น การตรวจสอบสาธารณูปโภคพื้นฐาน, การตรวจสอบจุดที่มักละเลยเช่นหลังค่า และหลังรับมอบบ้านแล้วต้องเตรียมเอกสารอะไรเพื่อขอเลขที่บ้าน ถ้าชอบบทความนี้อย่าลืมแชร์ให้เพื่อนๆที่กำลังอยากมีบ้านนะครับ

Con Mueangsak

เขียนโดย Con Mueangsak

โฟร์แมนเป็นงานประจำ เขียนบทความเกี่ยวกับช่างและงานก่อสร้างเป็นงานเสริม รักการก่อสร้างเป็นชีวิตจิตใจ สนใจติดต่องานก่อสร้างติดต่อในอีเมลได้เลยครับ ผู้เขียนเว็บไซต์ Constructacon

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save