บทความอัพเดทล่าสุดเมื่อ June 15, 2023
การสร้างบ้านบนพื้นที่ดินของตนเองถือได้ว่าเป็นความฝันที่คนส่วนใหญ่อยากมีบ้านของตนเอง ซึ่งการสร้างบนพื้นที่ดินเปล่าจะมีรายละเอียดรวมถึงขั้นตอนต่าง ๆ มากกว่า เมื่อเทียบกับการสร้างบ้านจัดสรรที่อยู่ในโครงการ เนื่องจากผู้เป็นเจ้าบ้านต้องดำเนินการทั้งหมดตั้งแต่ต้น จนบางครั้งทำให้ผู้เป็นเจ้าบ้านบางคนรู้สึกถอดใจ หากคุณไม่อยากหยุดฝันที่จะสร้างบ้านบนพื้นที่ดินของตน มาดูกันว่าการขอสินเชื่อสร้างบ้าน มีขั้นตอนอย่างไร
ขั้นตอนในการของสินเชื่อสร้างบ้าน
หัวข้อนี้ก็จะมาพูดถึงเกี่ยวกับขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อดำเนินการขอสินเชื่อ โดยสามารถกล่าวได้ดังต่อไปนี้
ต้องมีที่ดินเป็นของตัวเองจึงจะสร้างบ้านได้
การสร้างลักษณะนี้ถือว่าเป็นกรรมสิทธิ์ที่ดินซึ่งมีชื่อเป็นผู้สร้างบ้านนั่นเอง การกู้เงินกับธนาคารเรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายและสะดวกสบาย แต่หากเป็นการสร้างบ้านบนพื้นที่ดินของผู้อื่น ก็จะมีรายละเอียดหรือขั้นตอนที่ยุ่งยากมากกว่า ถ้าอยากให้ทำเป็นเรื่องง่าย ควรดำเนินการโอนชื่อให้กับผู้สร้างบ้านเพื่อเป็นกรรมสิทธิ์ในการกู้ยืมสร้างบ้าน
หากมีเหตุผลใดก็ตามที่ไม่สามารถโอนให้ได้ คนที่เป็นเจ้าของที่ดินจะต้องมีชื่ออยู่ในโฉนด อีกทั้งต้องมีส่วนร่วมในการกู้ยืม สิ่งเหล่านี้ทำให้การยื่นของกู้และยื่นขอสร้างบ้านมีความยุ่งยากมาก ทางที่ดีคือการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้กับผู้สร้างบ้าน เพื่อความสะดวกในการยื่นคำร้อง
ค้นหาแบบบ้านที่ถูกใจ
ผู้สร้างบ้านจะต้องให้ความสำคัญกับแบบบ้านเพื่อให้บ้านที่ตรงกับความต้องการ ซึ่งแต่ละแบบบ้านจะมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับไลฟ์สไตล์และงบประมาณการก่อสร้าง
ขออนุญาตสร้างบ้าน
ไม่ว่าจะเป็นการสร้างบ้านเรือนหรืออาคารนั้น จะต้องมีกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้อง เริ่มจากการถมที่ดินจนถึงการสร้างบ้าน ซึ่งคุณสามารถศึกษาเกี่ยวกับแนวทางการถมที่ดินเพื่อสร้างบ้านได้ทางเว็บไซต์ทั่วไป แต่การที่จะก่อสร้างอะไรก็ตามจำเป็นต้องมีพนักงานส่วนท้องถิ่นหรือเจ้าหน้าที่ให้อนุญาตก่อนเสมอ ในการติดต่อเพื่อขอใบอนุญาตนั้นเป็นหลักประกันให้ผู้สร้างบ้านได้เลยว่าจะไม่มีปัญหาใด ๆ หรือไม่มีผลกับการปล่อยกู้ธนาคารซึ่งอาจต้องแก้ปัญหาย้อนหลังเลยก็ว่าได้
เลือกผู้รับเหมาที่มีคุณภาพและสามารถสร้างบ้านให้อย่างเสร็จสมบูรณ์
ผู้รับเหมาสร้างบ้านที่มีความเป็นมืออาชีพสูง จะช่วยให้ปัญหาจุกจิกทั้งหลายที่เกี่ยวกับการสร้างบ้านนั้นลดลงได้เป็นอย่างมากรวมถึงสามารถช่วยเราคำนวณงบประมาณในการก่อสร้างบ้านได้ด้วย ซึ่งการหาผู้รับเหมานั้น สามารถหาได้ด้วยการนำแนะนำจากคนใกล้ชิด รวมถึงการดูความน่าเชื่อถือและประสบการณ์การทำงานของบริษัทรับเหมาว่ามีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด หรือดูได้จากบริษัทรับสร้างบ้านที่น่าเชื่อถือในเว็บไซต์ของเราก็ได้เช่นกัน
และสถาบันการเงินนั้นจะพิจารณาอนุมัติสินเชื่อง่ายกว่าเดิม หากบริษัทนั้นน่าเชื่อถือมากพอ หลังจากที่เลือกผู้รับเหมาได้แล้ว ก็ให้แจ้งถึงแบบบ้านที่อยากได้ งบที่ใช้ก่อสร้าง และขนาดของที่ดินสำหรับปลูกสร้าง ขั้นนี้ผู้สร้างต้องทำข้อตกลงกับผู้รับเหมาว่าหากยื่นกู้ผ่านก็จะทำการจ้างงาน แต่ถ้าไม่ผ่านก็จะทำการจ่ายค่าเขียนแบบเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
ทำการติดต่อเพื่อยื่นเรื่องกู้สำหรับสร้างบ้าน
ขั้นตอนที่ 1 การยื่นเรื่องกู้สร้างบ้าน ใช้เอกสารเช่นเดียวกับการกู้ทั่วไป ดังนี้
- สำเนาบัตรประชาชน
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- สำเนาบัญชี
- สำเนาบัญชีเงินฝาก
- สเตรทเม้นท์ย้อนหลัง 6 เดือน
- สลิปเงินเดือน หรือหนังสือรับรองเงินเดือน
ขั้นตอนที่ 2 เตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง
ไม่เพียงเท่านั้น เจ้าบ้านต้องเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง ไม่ว่าจะเป็น ใบขออนุญาต แบบแปลนบ้าน โฉนดที่ดิน ร่างสัญญาการก่อสร้างระหว่างผู้จ้างกับผู้รับเหมา และสิ่งสำคัญก็คือการออกใบตรวจหลักประกันธนาคาร ขั้นนี้อาจใช้เวลารอ ผู้กู้จะต้องมีธนาคารสำรอง 2 – 3 แห่ง สำหรับใช้เปรียบเทียบวงเงินและอัตราดอกเบี้ยที่จะได้ นอกจากนี้ยังมีสิทธิประโยชน์และโปรโมชันต่าง ๆ ที่ธนาคารแต่ละแห่งได้เสนอแก่ผู้กู้
ขั้นตอนที่ 3 เขียนสัญญาเรื่องการจ่ายค่างวด
หลังจากที่ธนาคารอนุมัติสินเชื่อแล้ว ก่อนเซ็นสัญญาทุกครั้ง ทางธนาคารจะพิจารณาเปลี่ยนสัญญาจ้างผู้รับเหมา เรื่องเกี่ยวกับการจ่ายงวดงานเพื่อความเหมาะสม ป้องกันการเสียเปรียบของผู้กู้จากผู้รับเหมา และสำหรับการเลือกบริษัทรับเหมาให้ได้มาตรฐาน โดยปกติแล้ว ทางธนาคารจะจ่ายเงินแก่กู้หลังงวดงานเสร็จแล้วเท่านั้น ซึ่งจ่ายเป็นงวด ไม่จ่ายเป็นก้อน เป็นการป้องกันผู้กู้ที่เอาเงินไปใช้นอกเหนือไปจากการก่อสร้าง
แจ้งนายทะเบียนเมื่อสร้างบ้านเสร็จเรียบร้อยแล้ว
เจ้าบ้านจะต้องไปแจ้งให้นายทะเบียนตามท้องที่นั้น ๆ ได้รับรู้ ไม่ว่าจะเป็นกำนัน นายทะเบียนท้องถิ่น ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยนายทะเบียน ปลัดอำเภอ ที่สำนักงานเขต สำนักงานเทศบาล ที่ว่าการอำเภอ หากเป็นกรณีขอเลขประจำบ้านใน 15 วัน หรือก็คือเลขที่บ้าน ให้นับตั้งแต่วันที่ปลูกบ้านเสร็จ ถ้าไม่ไปแจ้ง เจ้าของบ้านต้องได้รับโทษทางกฎหมาย ปรับไม่เกินกว่า 1,000 บาท
แล้วเมื่อนายทะเบียนได้รับแจ้งการสร้างบ้านใหม่ ให้ทำการตรวจเช็กว่าเอกสารที่นำไปแสดงนั้นถูกต้องหรือไม่ ถ้าถูกต้องก็กำหนดแจ้งเลขที่บ้านพร้อมทำทะเบียนบ้านและสำเนาต่อไป ซึ่งจะมอบสำเนาแก่ผู้แจ้งเป็นหลักฐาน เพื่อใช้ดำเนินการเรื่องการย้ายคนเข้ามาอยู่ในทะเบียนบ้าน หรืออาจดำเนินการคราวเดียวกันก็ได้ และในส่วนของเลขประจำบ้าน ให้เจ้าบ้านจัดทำเลขที่คิดเอาไว้แล้วติดไว้ตรงรั้วหรือหน้าบ้านให้เห็นชัดเจน
จะเห็นได้จากบทความจะเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับ การขอสินเชื่อสร้างบ้าน มีขั้นตอนอย่างไร ซึ่งแต่ละขั้นตอนก็จะมีรายละเอียดต่าง ๆ ที่ใครก็ตามซึ่งต้องการสร้างบ้านของตนเองควรรู้เอาไว้ เพื่อให้ได้บ้านที่ต้องการและถูกกฎหมายโดยที่ไม่มีปัญหาใด ๆ ตามมา นอกจากขั้นก่อที่จะขอสินเชื่อเพื่อยื่นกู้สร้างบ้าน เราควรจะรู้วิธีการคำนวณงบประมาณการก่อสร้างบ้านแบบคร่าวๆ เพื่อไมาให้ถูกบริษัทรับสร้างบ้านหรือผู้รับเหมาเอาเปรียบได้
ข้อคิดก่อนคำนวณงบก่อสร้างบ้านเพื่อกู้สินเชื่อ
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการสร้างบ้านคือการคำนวณงบประมาณและวิธีสร้างบ้านราคาประหยัด แต่วิธีคำนวณงบก่อสร้างบ้านไม่สามารถรู้ราคาที่แท้จริงได้อย่างชัดเจน เนื่องจากมีปัจจัยหลายอย่างที่มีผลต่อราคา เช่น รายละเอียดวัสดุ ระบบ โครงสร้าง และปัญหาหน้างาน แต่ยังมีวิธีคำนวณงบก่อสร้างบ้านเพื่อช่วยตั้งงบประมาณได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังมีข้อคิดเล็กๆน้อยๆสำหรับคนที่ต้องการสร้างบ้านเองเพื่อประหยัดงบประมาณมากขึ้นได้อีกด้วย
1. รู้ความต้องการของตัวเอง
การคำนวณงบก่อสร้างบ้านต้องเริ่มต้นด้วยการรู้ความต้องการของตัวเอง เช่น จำนวนสมาชิกในครอบครัว จำนวนห้องนอนที่ต้องการ จำนวนห้องน้ำภายในห้องนอน และกิจกรรมประจำวัน เพื่อให้ได้บ้านที่ตรงตามความต้องการจริง ๆ
2. คำนวณจำนวนห้องและพื้นที่ใช้สอย
เมื่อต้องการสร้างบ้าน ควรนำความต้องการมาแบ่งเป็นฟังก์ชันต่าง ๆ เพื่อคำนวณพื้นที่ที่ต้องใช้ ตัวอย่างเช่น บ้านที่ต้องการมี 3 ห้องนอน 3 ห้องน้ำ 1 ห้องทำงาน 1 ห้องครัวขนาดใหญ่ และ 2 ที่จอดรถ โดยคำนวณพื้นที่ของแต่ละห้องแล้วบวกกับพื้นที่ในบ้านอื่น ๆ ได้ 135.2 – 156 ตร.ม.
หลักการการคิดงบประมาณก่อสร้าง
การคำนวณต้นทุนการก่อสร้างบ้านขึ้นอยู่กับผู้รับเหมาและเจ้าของบ้าน โดยสิ่งสำคัญคือการเลือกบริษัทรับสร้างบ้านหรือผู้รับเหมา โดยต้องดูรูปที่ดินก่อน เช่น สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือสี่เหลี่ยมคางหมู เพื่อคำนวณตารางเมตรและค่าออกแบบและก่อสร้างเบื้องต้นที่เหมาะสมกับที่ดินและความต้องการของผู้สร้างบ้าน
ตัวอย่างราคาประเมินก่อสร้างบ้านและอาคาร
- บ้านชั้นเดียวแบบไม้ ราคาต่ำ 9,900 บาท, ราคากลาง 11,400 บาท, และราคาสูง 12,800 บาท
- บ้านสองชั้นแบบไม้ ราคาต่ำ 8,500 บาท, ราคากลาง 10,800 บาท, และราคาสูง 12,400 บาท
- บ้านใต้ถุนสูงแบบไม้ ราคาต่ำ 12,400 บาท, ราคากลาง 13,000 บาท, และราคาสูง 14,500 บาท
- บ้านครึ่งไม้ครึ่งตึก ราคาต่ำ 8,200 บาท, ราคากลาง 10,000 บาท, และราคาสูง 11,300 บาท
- บ้านตึกเดี่ยว ราคาต่ำ 11,000 บาท, ราคากลาง 12,500 บาท, และราคาสูง 14,400 บาท
เว็บไซต์สร้างบ้านที่เชื่อถือได้มีแบบบ้านอื่นอีกมากมายที่สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ ตัวอย่างของราคาค่าก่อสร้างบ้านแบบต่าง ๆ เป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น
หลังจการู้หลักการในการคำนวณงบประมาณในการประเมินราคาก่อสร้างบ้านและมีความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนในการขอสินเชื่อแล้ว มั่นใจได้ว่าการมีบ้านเป็นของตัวเองจะง่ายและไม่ถูกเอาเปรียบจากผู้รับเหมาได้ง่ายๆอย่างแน่นอน ซึ่งหากสนใจบทความอื่นๆที่เกี่ยวกับการสร้างบ้านหละก็ ในเว็บไซต์เรามีข้อมูลให้ครบสำหรับคนอยากมีบ้านเป็นของตัวเอง ถ้ามีเวลาลองเข้าไปอ่านหาข้อมูลกันดูนะครับ
โฟร์แมนเป็นงานประจำ เขียนบทความเกี่ยวกับช่างและงานก่อสร้างเป็นงานเสริม รักการก่อสร้างเป็นชีวิตจิตใจ สนใจติดต่องานก่อสร้างติดต่อในอีเมลได้เลยครับ ผู้เขียนเว็บไซต์ Constructacon