บทความอัพเดทล่าสุดเมื่อ December 20, 2023

หลังคารั่ว จากโครงสร้าง ภัยเงียบที่น่ากลัวของบ้าน

หลังคารั่ว มักจะเป็นภัยที่เราคาดไม่ถึง เพราะคนส่วนใหญ่ที่ริเริ่มคิดสร้างบ้านมักจะอยากให้บ้านมองดูแล้วสวยงาม จึงใส่ใจเลือกแต่วัสดุในการก่อสร้าง ตกแต่งบ้านที่ทำให้บ้านดูดี เช่น กระเบื้องหลังคา วัสดุปูพื้น ฝ้า เป็นต้น จนลืมคิดไปว่าเรื่องโครงสร้างก็คือสิ่งสำคัญอีกอย่างของการก่อสร้างบ้านด้วย เพราะถ้าหากเราไม่ให้ความสำคัญกับโครงสร้างบ้านก็อาจก่อให้เกิดผลกระทบที่เป็นปัญหาเรื้อรังในระยะยาวได้ และการแก้ไขซ่อมแซมบ้านก็เป็นเรื่องที่ยุ่งยากมากรวมทั้งมีค่าใช้จ่ายที่สูง

อย่างเช่นในส่วนของโครงหลังคา นอกจากจะทำหน้าที่ในการรองรับน้ำหนักกระเบื้อง หรือวัสดุมุงหลังทั้งหมดแล้ว ยังต้องทำหน้าที่ยึดผืนหลังคาไว้กับตัวบ้านไม่ให้เกิดการปลิวหรือตกหล่นไปตามแรงลม แม้เวลาผ่านไปสักกี่ปีก็สามารถปกป้องรองรับผืนหลังคาไม่ให้เกิดปัญหารั่วซึมได้ แต่ก่อนโครงหลังคาจะใช้เป็นไม้เนื้อแข็งแล้วยึดโครงไว้ด้วยตะปู ก่อนจะมาพัฒนาเป็นเหล็กรูปพรรณ

เหล็กโครงหลังคารูปพรรณ

เมื่อมีการเปลี่ยนมาใช้เหล็กรูปพรรณแน่นอนอยู่แล้วผู้ใช้ก็จะมั่นใจถึงความแข็งแรงของเหล็ก แต่ทราบหรือไม่ว่าการจะได้โครงหลังคาเหล็กรูปพรรณที่มั่นคงแข็งแรงจะต้องผ่านการคำนวณ และเขียนแบบตามความเชี่ยวชาญของช่าง เพราะหากว่าคำนวณผิดพลาดก็จะเกิดปัญหาตามมาภายหลัง เช่น การคำนวณขนาดเหล็กที่ต้องใช้ผิดพลาดจะส่งผลให้เมื่อมุงกระเบื้องแล้ว โครงรับน้ำหนักไม่ไหว ทำให้โครงหลังคาแอ่น กระเบื้องตกร่อง หรือคำนวณองศาของโครงหลังคาผิดพลาดก็จะทำให้องศาของหลังคาที่มุงมีน้อย/มากเกินไป เวลาที่ฝนตกลมก็สามารถที่จะตีย้อน ทำให้น้ำฝนไหลย้อนเข้ามาตามซอกกระเบื้องได้ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาน้ำรั่วซึมนั่นเอง

ถึงแม้ว่าเหล็กโครงหลังคารูปพรรณจะหมดปัญหาปลอดภัยเรื่องของปลวกแทะแต่ก็ยังต้องเผชิญกับเรื่องของสนิม ส่งผลให้โครงเหล็กผุกร่อน และทาสีกันสนิมไม่เรียบร้อยตรงบริเวณที่เป็นจุดรอยเชื่อม รวมไปถึงปัญหาเหล็กไม่เต็มซึ่งตรงส่วนนี้เราไม่สามารถที่จะมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า นอกจากนั้นยังเป็นปัญหาเรื่องของการรับแรงในอนาคตที่จะทำให้โครงหลังคาแอ่น กระเบื้องตกร่อง ก่อให้เกิดปัญหารั่วซึมเรื้อรังได้ด้วย

หลังคารั่ว จากโครงสร้าง

แล้วปัจจัยหลักที่สำคัญคือตัวช่างผู้ติดตั้ง เพราะการประกอบโครงหลังคา จะต้องอาศัยผู้ที่มีประสบการณ์และความชำนาญเฉพาะตัวของช่าง ในการกะระยะ การประกอบโครง เช่น หากประกอบจันทันไม่ได้ในระดับที่เหมาะสมก็จะส่งผลให้ต่อมุงกระเบื้องก็จะได้ระดับที่ไม่เท่ากัน ทำให้กระเบื้องกระเดิดขึ้น เวลาที่ฝนตกน้ำก็จะไหลซึมเข้ามาได้ หรือคุณภาพในการเชื่อมเหล็กถ้าไม่ชำนาญพอมีความเป็นไปได้ที่ว่าจะทำให้เหล็กเชื่อมได้ไม่สนิท และคุณภาพการทีสีกันสนิมให้ทั่วโครงเหล็กด้วยมือ ถ้าช่างมีความละเอียดรอบคอบไม่พอ หลงลืมทาบางจุดหรือว่าทาบางเกินไปแม้ว่าจะเป็นเพียงจุดเล็กๆก็อาจจะทำให้เป็นปัญหาใหญ่ที่จะตามมาในภายหลังได้ ซึ่งปัญหาเรื่องของโครงหลังคาไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ที่จะสามารถแก้ไขได้ตรงบริเวณที่เกิดปัญหา บางครั้งเจ้าของบ้านก็ต้องทำการรื้อหลังคาใหม่ทั้งหมดเพื่อแก้ปัญหาจุดเดียวเลยก็มีตัวอย่างมาให้เห็นกันบ้างแล้ว เพราะกว่าที่เจ้าของบ้านจะรู้ว่าหลังคาเกิดปัญหารั่วซึมก็เมื่อเกิดรอยดวงบริเวณฝ้า หรือฝ้าเป็นรูมีน้ำหยดลงมา ซึ่งนอกจากจะเสียค่าซ่อมหลังคาก็ยังต้องมาเสียค่าซ่อมฝ้าอีก โดยค่าใช้จ่ายในการซ่อมรั้วบริเวณหลังคาตกอยู่ที่ประมาณ 70,000 – 80,000 บ. (ราคาขึ้นอยู่กับขนาดพื้นที่ของหลังคา) ส่วนค่าใช้จ่ายในการซ่อมฝ้าจะตกอยู่ที่ประมาณ 20,000 – 30,000 บ. รวมๆแล้วก็เป็นหลักแสนเลยทีเดียว

ปัจจัยหลักที่สำคัญคือตัวช่างผู้ติดตั้ง

แต่ด้วยปัจจุบันมีการพัฒนาเทคโนโลยีก้าวหน้ามากขึ้น จึงเพิ่มตัวเลือกที่ดีกว่าโครงหลังคาเหล็กแบบเดิมๆนั่นก็คือนวัตกรรม โครงหลังคาระบบโครงถัก (Pre-fabricated) อย่าง โครงหลังคาสำเร็จรูป ซึ่งในโครงหลังคาของบ้านแต่ละหลังจะได้รับการออกแบบด้วยโปรแกรมทางด้านวิศวกรรมขั้นสูงตามมาตรฐาน AISI (American Iron and Steel Institute) ผ่านการคำนวณน้ำหนักตามรูปทรงหลังคาของบ้าน ชนิดของกระเบื้องหลังคาที่ควรเลือกใช้ เพื่อให้แข็งแรงคงทน และสามารถรองรับแรงลมช่วงที่มีพายุฝนได้อย่างมั่นใจ

วัสดุที่ใช้ผลิตโครงสร้างหลังคาสำเร็จรูป จะผลิตจากเหล็กกำลังดึงสูง ซึ่งมีแรงดึงสูงกว่าเหล็กรูปพรรณถึง 2 เท่า ในขณะที่มีน้ำหนักเบากว่าเกือบเท่าตัว จึงทำให้สามารถลดโครงสร้างที่มารองรับจำพวก เสา คาน ลงได้ และผ่านการเคลือบโลหะป้องกันสนิมสำเร็จเรียบร้อยมาจากโรงงาน จึงมั่นใจได้ว่าเหล็กที่นำมาใช้ทำจะปราศจากสนิมอย่างแน่นอน

ส่วนขั้นตอนการติดตั้งก็สามารถทำได้รวดเร็วและแม่นยำ เพราะวัสดุทั้งหมดได้ถูกวัด ตัดขนาดตามแบบ และเคลือบโลหะป้องกันสนิมมาเป็นอย่างดีจากโรงงาน เมื่อมาถึงหน้างานก็สามารถติดตั้งด้วยสกรูเคลือบกัลวาไนซ์กันสนิมได้ทันที ไม่ต้องมาเสียเวลาวัด ตัด และทาสีกันสนิม ช่วยลดขั้นตอน ประหยัดเวลาทำงาน

ดังนั้นเราจึงสามารถสรุปได้ว่าเรื่องของโครงสร้างโดยเฉพาะโครงหลังคาเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรให้เกิดข้อผิดพลาดเป็นอันดับต้นๆของการก่อสร้างบ้าน ซึ่งหากคุณต้องการให้บ้านมั่นคงแข็งแรง ไม่ต้องมานั่งกลุ้มใจกับเรื่องปัญหารั่วซึม และค่าใช้จ่ายที่ต้องมาแก้ปัญหา คุณจึงควรเลือกใช้วัสดุที่จะมาทำโครงสร้างหลังคาที่เหมาะสม ยอมเสียค่าใช้จ่ายในตอนแรกมากหน่อย เพื่อป้องกันในปัญหาในระยะยาวที่อาจจะต้องเสียมากกว่านั้นก็ได้คะ

วิธีติดตั้งหลังคาให้ถูกต้อง


วิธีติดตั้งหลังคาให้ถูกต้อง และป้องกันปัญหาน้ำรั่ว

การป้องกันหลังคารั่วซึมสามารถทำได้หลายวิธี เช่นการเลือกใช้วัสดุที่ทนต่ออากาศชื้นและติดตั้งให้ถูกวิธี โดยปัญหาน้ำรั่วซึมจากหลังคาเกิดจากการติดตั้งไม่ถูกต้องหรือมีข้อผิดพลาดในบางจุด นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ เช่นความลาดชันของหลังคาและวัสดุที่ใช้ด้วย รวมถึงวิธีการติดตั้งหลังคา ก็มีปัจจัยสำคัญอยู่หลายอย่างด้วยกันซึ่งจะส่งผลหลายๆ อย่างให้กับตัวบ้าน อย่างที่ทราบกันดีไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งหลังคาหรือการเลือกใช้วัสดุ และวิธีการติดตั้งหลังคา เพื่อป้องกันปัญหาน้ำรั่ว รวมถึงลักษณะของตัวบ้านก็มีส่วนสำคัญในการติดตั้งหลังคาด้วยเช่นกัน ซึ่งบ้านบางชนิดจำเป็นต้องใช้หลังคาที่มีความลาดชันน้อย และอีกบางชนิดก็จะจำเป็นต้องใช้หลังคาที่มีความลาดชันสูง เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาน้ำรั่วซึมได้เช่นกัน

นอกจากนี้ การซ้อนกันของหลังคาควรดูที่ความลาดชันและความยาวของหลังคา เพื่อป้องกันการรั่วของน้ำฝน โดยการเหลื่อมซ้อนกันควรเกิน 10 เซนติเมตร สำหรับความลาดชันน้อย และ 6 เซนติเมตรสำหรับความลาดชันสูง และสำหรับการยึดหลังคาติดกับฐานเป็นส่วนสำคัญของการเหลื่อมกันหลังคา ถ้ายึดไม่แน่นพออาจทำให้หลังคารั่วและมีสิ่งแปลกปลอมลงมาได้ อาจเกิดจากการใช้วัสดุเกลียวผิดประเภท เช่น การไม่ใส่ยางรองพื้น ทำให้ไม่คงทนและเกิดปัญหาได้ง่ายขึ้นมาก ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรระวังอย่างยิ่งสำหรับการติดตั้งหลังคา


สาเหตุปัญหาน้ำรั่วซึมจากหลังคา ถึงฝ้าเพดาน

การซ่อมหลังคาเป็นเรื่องที่น่าหวังเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากหลังคาเป็นส่วนสำคัญที่สุดของบ้านที่ช่วยปกป้องพื้นที่ภายในจากสภาพอากาศภายนอก แต่หลังคาที่ทนแดด ทนฝนมาเป็นระยะเวลานาน ย่อมต้องเสื่อมสภาพอย่างไม่น่าพอใจ และปัญหาที่เกิดจากการก่อสร้างไม่มีคุณภาพ วัสดุที่นำมาใช้ไม่ได้มาตรฐาน ย่อมส่งผลให้หลังคาเสียหายได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้เจ้าของบ้านควรตรวจเช็คหลังคาบ้านเป็นประจำ และรีบดำเนินการซ่อมแซมทันทีเมื่อพบปัญหา เพราะการปล่อยไว้จะทำให้ปัญหาเกิดขึ้นใหญ่ขึ้นและกระทบไปยังพื้นที่อื่นภายในบ้านได้

สำหรับสาเหตุปัญหาหลังคารั่วเกิดจากกระเบื้องหลังคาแตกหรือเสื่อมสภาพจากการโดนลูกเห็บหรือกิ่งไม้กระแทก หรืออุปกรณ์บนหลังคาเสื่อมสภาพหรือโดนสัตว์กัดทำลาย อาจทำให้น้ำฝนรั่วซึมเข้ามาในบ้าน และเกิดเศษฝุ่นผงจากภายนอกลอยเข้ามาด้วย ซึ่งเจ้าของบ้านควรระวังเสียงน้ำไหลหรือน้ำหยดกระทบฝ้าเวลาฝนตก เพราะอาจเกิดคราบสีน้ำตาลบนฝ้าเล็กน้อยได้ซึ่งเป็นสัญญาณว่าหลังคาบริเวณนั้นอาจมีการรั่วซึม ควรดำเนินการซ่อมแซมในทันทีเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายต่อฝ้าเพดาน และลามไปถึงจุดอื่นของฝ้าเพดาน


สำหรับปัญหาหลังคารั่วถือว่าเป็นปัญหาหลักที่อาจพบเจอได้จากทั่วทุกภูมิภาคที่มีฤดูฝน โดยหลักการป้องกันปัญหาน้ำรั่วจากหลังคาสามารถเริ่มทำได้ตั้งแต่การเริ่มก่อสร้างโครงหลังคาออกตัวบ้าน โดยมีปัจจัยหลักนั่นก็คือเรื่องของโครงสร้าง และการเลือกใช้วัสดุที่มีความทนทานต่อน้ำ รวมถึงอากาศร้อนหรือแสงแดด นอกจากนี้ยังควรหมั่นตรวจสอบหรือเช็คสภาพของหลังคาบ้านอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งสำหรับในกรณีที่เป็นหลังคากระเบื้องควรจะมีการตรวจสอบทุกครั้งหลังจากที่มีการผ่านฤดูฝน เพราะในบางกรณีอาจจะเกิดเหตุไม่คาดฝันเช่นเศษกิ่งไม้กระทบหลังคาทำให้มีรอยแตกหรือร้าว จนส่งผลทำให้น้ำรั่วซึมเข้าสู่ในตัวบ้าน และถ้าเกิดเป็นปัญหาเรื้อรังในภายภาคหน้า ซึ่งสำหรับปัญหาน้ำรั่วซึมหากพบว่ามีการรั่วซึมเข้าสู่ภายในตัวบ้านก็ควรจะรีบเร่งแก้ไขในทันที เพื่อไม่ให้ปัญหานั้นลุกลามไปยังพื้นที่อื่น ซึ่งสิ่งที่จะตามมาหลังจากนั้นต้องซึมนั่นคือเรื่องของเชื้อราที่เกิดขึ้นบนฝ้าเพดาน

Con Mueangsak

เขียนโดย Con Mueangsak

โฟร์แมนเป็นงานประจำ เขียนบทความเกี่ยวกับช่างและงานก่อสร้างเป็นงานเสริม รักการก่อสร้างเป็นชีวิตจิตใจ สนใจติดต่องานก่อสร้างติดต่อในอีเมลได้เลยครับ ผู้เขียนเว็บไซต์ Constructacon

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save