บทความอัพเดทล่าสุดเมื่อ October 26, 2023

บ้านร้าว ลักษณะรอยร้าวที่คุณต้องระวัง ก่อนจะสาย

บ้านร้าว เป็นปัญหาโลกแตกที่คนมีบ้านต่างต้องเผชิญชนิดที่เรียกว่าหลีกเลี่ยงไม่ได้ทั้งรอยรั่ว รอยร้าว เพราะบางครั้งรอยร้าวที่เราพบอาจจะเกิดจากโครงสร้างข้างในของเสาและคาน ไม่ใช่เป็นแค่รอยร้าวของปูนฉาบที่ผิวหน้า เพราะฉะนั้นคุณควรจะหมั่นสังเกตดูลักษณะรอยร้าวบนผนังบ้านด้วยว่าเป็นรอยร้าวที่จะส่งผลต่อความแข็งแรงของบ้านหรือไม่ วันนี้เราจะมารู้จักลักษณะรอยร้าวต่างๆว่ามีอย่างไรบ้าง และสาเหตุของรอยร้าวมาจากอะไรค่ะ


1.รอยร้าวแบบผนังแตกลายงา

สาเหตุหลักเป็นไปได้ว่าจะเกิดจากที่ผสมปูนฉาบผนังไม่ดี หรือผนังเกิดการหดตัวจากที่อุณหภูมิมีการเปลี่ยนแปลงระหว่างช่วงกลางวันกับกลางคืนเป็นเวลานาน จนทำให้เนื้อปูนที่ฉาบไว้เกิดรอยร้าวแตกเป็นลายงา ซึ่งรอยร้าวลักษณะนี้ท่านเจ้าของบ้านไม่ต้องกังวลเพราะไม่ได้เกิดจากโครงสร้างแต่มาจากคุณภาพของงานก่อสร้าง

รอยร้าวแบบผนังแตกลายงา


2.รอยร้าวที่ขอบวงกบประตูหน้าต่าง

รอยร้าวชนิดนี้ส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นตามวงกบประตูหน้าต่างที่ทำมาจากไม้ เพราะไม้จะมีความยืดหดตัวได้ง่าย เมื่ออุณหภูมิมีการเปลี่ยนแปลงบวกกับความชื้น ก็จะส่งผลให้ปูนที่ฉาบบริเวณนี้เกิดรอยร้าวขึ้นได้ ซึ่งรอยร้าวลักษณะนี้เช่นเดียวกับรอยร้าวผนังแตกลายงาคือเกิดจากคุณภาพของการก่อสร้าง แต่ไม่ส่งผลไปถึงความแข็งแรงของโครงสร้างบ้าน

รอยร้าวที่ขอบวงกบประตูหน้าต่าง


3.รอยร้าวทแยงมุมบนผนัง

ถ้าเกิดรอยร้าวลักษณะทแยงมุมบนผนังขึ้น อย่านิ่งนอนใจเป็นอันขาดเพราะมันอาจจะเกิดการทรุดตัวของฐานรากหรือเสาบ้านที่อยู่ใกล้กับผนังบริเวณนั้น ซึ่งถือว่าเป็นรอยร้าวที่บ่งบอกสัญญาณเตือนถึงอันตรายของโครงสร้างบ้าน ต้องรีบดำเนินการซ่อมแซ่มบ้านด้วยการแจ้งให้วิศวกรหรือผู้เชี่ยวชาญให้เข้ามาตรวจสอบโครงสร้างของผนังช่วงที่เกิดรอยร้าวโดยเร่งด่วน

รอยร้าวทแยงมุมบนผนัง


4.รอยร้าวบนผนังแนวดิ่ง

รอยร้าวลักษณะนี้จะเกิดจากการแอ่นตัวของพื้นและคานที่อยู่ใกล้ๆในบริเวณนั้น สาเหตุอาจมาจากมีการบรรทุกน้ำหนักที่มากเกินไป ซึ่งถ้าพบรอยร้าวที่เป็นแนวดิ่งควรต้องรีบเคลื่อนย้ายสิ่งของที่มีน้ำหนักมากๆออกจากบริเวณนั้นในทันที แล้วติดต่อให้วิศวกรหรือผู้เชี่ยวชาญให้เข้ามาดำเนินการตรวจสอบการรับน้ำหนักของโครงสร้างพื้นที่บริเวณที่เกิดรอยร้าวในทันที

รอยร้าวบนผนังแนวดิ่ง


5.รอยร้าวบริเวณรอยต่อระหว่างผนังกับโครงสร้างเสาและคาน

รอยร้าวเช่นนี้จะเกิดจากขั้นตอนการก่อสร้างผนังที่ไม่ได้ทำการเสียบเหล็กหนวดกุ้งเพื่อยึดเกาะกับโครงสร้างเสาด้านข้าง หรือถ้ามีการเสียบก็ไม่แน่นพอ จึงส่งผลให้ผนังเกิดรอยร้าวระหว่างรอยต่อของเสา แม้ว่าจะไม่เป็นอันตรายตอนความแข็งแรงของโครงสร้าง ซึ่งเจ้าของบ้านอาจจะรู้สึกกังวลและทำให้ความสวยงามของบ้านลดน้อยลง แต่ถ้าพบรอยแตกร้าวบนพื้นภายในบ้านโดยเฉพาะบ้านสองชั้นบางครั้งอาจจะต้องรื้อฝ้าเพดาน เพื่อจะได้ตรวจสอบให้มั่นใจว่าท้องพื้นชั้นบนเกิดรอยร้าวด้วยหรือไม่ เพราะบ้านสมัยใหม่จะมีการก่อสร้างด้วยการปิดผิวเพื่อตกแต่งพื้นจึงไม่สามารถเห็นรอยร้าวบนพื้นได้

รอยร้าวบริเวณรอยต่อระหว่างผนังกับโครงสร้างเสาและคาน


6.รอยร้าวใต้ท้องพื้นรูปกากบาท และรอยร้าวบริเวณกลางพื้น

เป็นอีกหนึ่งรอยร้าวที่น่ากลัวไม่แพ้กันเพราะส่วนใหญ่จะเกิดจากการที่พื้นรับน้ำหนักมากจนเกินข้อจำกัด ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสัญญาณเตือนภัยที่สำคัญก่อนพื้นจะพังทลายลงมาส่งผลให้เกิดอันตรายกับคนอยู่อาศัยภายในบ้านได้ ดังนั้นหากพบรอยร้าวลักษณะนี้บนพื้นบ้านควรที่จะต้องติดต่อให้วิศวกรหรือผู้เชี่ยวชาญให้เข้ามาช่วยตรวจสอบโครงสร้างการรับน้ำหนักอย่างใกล้ชิดเพื่อความปลอดภัยของคนในครอบครัว

รอยร้าวใต้ท้องพื้นรูปกากบาท และรอยร้าวบริเวณกลางพื้น


7.รอยร้าวเกิดสนิมบริเวณเหล็กเสริมใต้ท้องพื้น

การก่อสร้างที่ไม่ดีก็จะทำให้เกิดรอยร้าวเช่นนี้ขึ้น เพราะตอนก่อสร้างไม่ได้ทำการหนุนลูกปูนในขณะที่เทคอนกรีต และมักพบได้บ่อยๆกับพื้นหลังคาบนดาดฟ้าที่มีน้ำขัง ซึ่งน้ำสามารถที่จะซึมเข้ามาจนถึงเหล็กในแผ่นพื้นคอนกรีตได้ง่ายจนส่งผลให้เหล็กเสริมเกิดสนิม และขยายตัวดันให้คอนกรีตที่หุ้มเหล็กอยู่หลุดร่วงลงมา จนเห็นเป็นตะแกรงบริเวณที่ท้องพื้นด้านล่าง รอยร้าวลักษณะนี้จะทำให้ความสามารถที่รับน้ำหนักของพื้นได้น้อยลงจนเกิดอันตรายได้ ฉะนั้นจึงควรเรียกวิศวกรหรือผู้เชี่ยวชาญมาช่วยตรวจสอบการรับน้ำหนักอย่างละเอียดอีกครั้งเพื่อความปลอดภัย

รอยร้าวเกิดสนิมบริเวณเหล็กเสริมใต้ท้องพื้น


8.รอยร้าวแบบแตกลายงาบนพื้น

ในความเป็นจริงแล้วรอยร้าวแตกลายงานี้สามารถที่จะพบเห็นได้ตามพื้นทั่วไป ไม่ได้จำกัดแค่ต้องเป็นพื้นคอนกรีตเท่านั้น อาจจะเป็นพื้นหินขัด พื้นคอนกรีตขัดมัน พื้นกระเบื้อง ส่วนสาเหตุหลักน่าจะมาจากหินขัดและผิวของคอนกรีตมีความหนามากเกินไป ถึงรอยร้าวพวกนี้ไม่สามารถจะนำมาวัดความแข็งแรงของโครงสร้างพื้นได้ แต่ถ้าท่านเจ้าของบ้านรู้สึกไม่สบายใจจะให้วิศวกรเข้ามาช่วยตรวจสอบการรับน้ำหนักของพื้นส่วนนี้ด้วยก็ได้

รอยร้าวแบบแตกลายงาบนพื้น


คราวนี้คุณคงทราบแล้วว่ารอยร้าวที่เกิดขึ้นแต่ละรอยมีความสำคัญและบ่งบอกถึงสัญญาณบางอย่าง จะด้วยการเกิดจากโครงสร้างก็ดี หรือเกิดจากการก่อสร้างก็ดี ล้วนแล้วแต่ไม่น่าไว้วางใจทั้งสิ้น ทางที่ดีเมื่อพบรอยร้าวเกิดขึ้นควรเรียกวิศวกรหรือผู้เชี่ยวชาญเข้ามาตรวจสอบในทันทีดีกว่ารอให้เกิดปัญหาแล้วค่อยมาแก้กันทีหลัง เข้าทำนองเสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่ายค่ะ


ขั้นตอนการปรับปรุง และซ่อมแซมพื้นบ้านที่ทรุดตัว

การทรุดตัวของผืนดินเป็นปัญหาใหญ่ที่บ้านทรุดต้องกุมขมับและทำให้เกิดรอยร้าวและรอยแยกบนหลังคาเรือนเข้าไปอีก สาเหตุหลักๆมาจากการวางโรงจอดรถบนชั้นดินหรือ Slab on Ground โดยพื้นที่ที่เคยมีการทำนาหรือทำไร่มีโอกาสทรุดตัวได้มาก การถมใหม่ที่ไม่ดีตั้งแต่แรกก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหานี้ ดังนั้นเราควรแก้ไขปัญหาโดยการตรวจสอบสาเหตุและแก้ไขตรงจุดมากที่สุด และสำหรับวิธีการป้องกันปัญหาบ้านทรุดเบื้องต้นคือการเพิ่มเสาเข็มรองรับที่พื้นไว้ด้วย โดยความยาวของเสาเข็มควรใกล้เคียงกับตัวบ้าน แต่จะต้องใช้ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างที่สูงขึ้น

และรอยต่อที่อยู่ระหว่างถนนหน้าบ้านกับโรงจอดรถจะเกิดรอยแตกขึ้นจากสาเหตุของถนนทรุดตัว ก็ต้องแก้ไขด้วยการเทพื้รทำทางลาด (Ramp) เป็นต้น นอกจากนี้สังสามารถป้องกันได้ด้วยการใช้เสาเข็มสั้น เช่น เสาเข็มหกเหลี่ยม เสาเข็มรูปตัวไอ ความยาว 2-6 เมตร ในการตอกแบบปูพรมทุกระยะ 1 เมตร เพื่อชะลอการทรุดตัวของพื้นที่จอดรถ แต่การตอกเสาเข็มไม่สามารถแก้ปัญหาได้ 100% เต็ม ดังนั้นการแยกโครงสร้างด้วยการตัดรอยแยกที่ต่อระหว่างพื้นที่โครงสร้างที่วางบนคานและพื้นโครงสร้างที่วางบนดิน ด้วยการตัด Joint และอุดรอยต่อด้วยวัสดุอุดรอยต่อ เช่น โฟมเส้น ยาแนว หรือยางมะตอย เป็นวิธีที่นิยมใช้มากที่สุด


ท่อประปาแตก ปัญหาที่มีต้นต่อมาจากอาการบ้านทรุด

การแตกท่อประปาเกิดจากโครงสร้างบ้านทรุดตัว และอาจส่งผลกระทบต่อท่อน้ำและระบบประปาทั้งบ้าน การตรวจสอบและซ่อมแซมท่อน้ำแตกจากสาเหตุโครงสร้างทรุดตัวสามารถทำได้ด้วยตนเองโดยวิธีการตรวจสอบปริมาณการใช้น้ำประปาในแต่ละเดือนและสังเกตกลิ่นเหม็นที่ส่งกลับมาจากระบบประปาที่มีปัญหา รวมถึงการซ่อมแซมท่อน้ำต้องเข้าไปแก้ที่ต้นเหตุเพื่อลดผลกระทบในอนาคต การตัดสินใจว่าจะทำเป็นวิธีการเดินท่อลอยเฉพาะจุดที่เป็นปัญหาหรือไม่เป็นสิ่งที่ควรพิจารณา แต่ถ้าทำเช่นนั้นจะช่วยลดค่าใช้จ่ายและระยะเวลาที่ต้องเสียไปกับการคอยซ่อมแซมท่อน้ำแตกร้าวได้อีกด้วย และสำหรับวิธีแก้ปัญหาน้ำรั่วซึมจากผนังบ้าน โดยรวมแล้วถือว่ามีอยู่หลายวิธีด้วยกัน โดย 2 วิธีแรกที่สามารถทำเองได้และควรจะเริ่มต้นจัดการเป็นอย่างแรกก็จะมีดังนี้

1. น้ำรั่วซึมบนผนัง อีกหนึ่งสาเหตุที่มาจากบ้านทรุด

ในการสกัดควรใช้ค้อนหรือสว่านไฟฟ้าแบบเจาะกระแทกเพื่อสกัดไปบนพื้นผิว โดยระมัดระวังไม่ให้กระทบกระเทือนโครงสร้าง หากกังวลว่าโครงสร้างข้างเคียงจะเกิดความเสียหายไปด้วย ก็เลือกใช้เป็นเครื่องตัดไฟเบอร์แทน แต่ข้อเสียของการใช้ไฟเบอร์จะทำให้เกิดฟุ้งกระจายขึ้นเป็นจำนวนมาก ทำให้ยากต่อการควบคุมฝุ่นละอองและความสะอาด จึงควรใช้ผ้าพลาสติกมารองที่บริเวณที่จะทำการตัด และพรมน้ำช่วยป้องกันฝุ่นละอองไม่ให้กระจายออกไปทั่วบ้าน

2. น้ำรั่วซึมจากคอนกรีตของบ้าน

การใช้วิธีเดินท่อพีวีซีใหม่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาโครงสร้างบ้านที่ทรุดตัวอยู่อย่างต่อเนื่องได้ เนื่องจากปัญหาเดิมยังคงเกิดขึ้นได้อีกในอนาคต ดังนั้นการเปลี่ยนไปใช้ท่อพีอีจะช่วยแก้ไขปัญหาได้ดีกว่า เนื่องจากท่อพีอีมีความแข็งแรงทนทานกว่าและสามารถโค้งงอได้อย่างอิสระ และไม่เกิดการคลายตัวบริเวณข้อต่อเหมือนการใช้ท่อพีวีซี

การซ่อมแซมท่อน้ำหรือการซ่อมระบบประปาโดยมีต้นเหตุมาจากการแตกร้าวของตัวบ้านไม่ว่าจะเป็นกำแพงหรือพื้นบ้าน ปัญหาเหล่านี้จำเป็นต้องเข้าไปแก้ที่ต้นเหตุเพื่อลดผลกระทบแบบนี้ไปอีกเรื่อยๆ ในบางจุดอาจต้องพิจารณาประกอบการตัดสินใจดูว่าจะทำเป็นวิธีการเดินท่อลอยเฉพาะจุดที่เป็นปัญหาเลยดีหรือไม่ การตกแต่งหรือปิดทับบริเวณที่ซ่อมแล้วยังช่วยให้สามารถสังเกตความผิดปกติได้ง่ายๆ และลดค่าใช้จ่ายและระยะเวลาที่ต้องเสียไปกับการคอยซ่อมแซมรอยแตกร้าวของบ้านได้อีกด้วย


สำหรับปัญหาพื้นบ้านทรุดตัวหรือจะเป็นพื้นในส่วนของบริเวณข้างบ้าน ซึ่งการทรุดตัวของบ้านนั้นสามารถส่งผลกระทบให้กับตัวบ้านได้ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของบันไดซึ่งหากเป็นที่สร้างจากปูนซีเมนต์ หรือเป็นการทำบันไดยึดติดกับผนังบ้าน โดยเป็นใช้ปูนหรือซีเมนต์ กล้าได้รับผลกระทบไม่ว่าจะเป็นรอยแตกร้าว รวมถึงระบบประปาด้วยเช่นกัน นอกจากนี้สำหรับรอยแตกร้าวที่เกิดขึ้นภายในตัวบ้านนั้นก็ยังสามารถบ่งบอกได้อีกว่ารอยแตกร้าวแบบไหนมีต้นเหตุมาจากอะไร ซึ่งรอยแตกร้าวแต่ละชนิดจะมีต้นเหตุที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นรอยแตกร้าวที่เกิดขึ้นจากพื้นบ้าน หรือรอยแตกร้าวเป็นผนังที่เป็นแนวดิ่ง ซึ่งถือว่าเป็นรูปแบบการ background ที่มีความอันตรายและอาจจะส่งผลร้ายต่อตัวบ้าน ในระยะยาว ฉะนั้นสำหรับปัญหาเหล่านี้หากยังไม่มีความรู้มากพอควรจะติดต่อช่างหรือสวาทที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะ เพื่อที่จะแก้ไขและป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้เกี่ยวกับตัวบ้านและในภาคหน้า

Con Mueangsak

เขียนโดย Con Mueangsak

โฟร์แมนเป็นงานประจำ เขียนบทความเกี่ยวกับช่างและงานก่อสร้างเป็นงานเสริม รักการก่อสร้างเป็นชีวิตจิตใจ สนใจติดต่องานก่อสร้างติดต่อในอีเมลได้เลยครับ ผู้เขียนเว็บไซต์ Constructacon

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save