บทความอัพเดทล่าสุดเมื่อ June 27, 2023

บ้านไม้ยกพื้นสูง อย่าง “บ้านทรงไทย” โบราณแต่ไม่ล้าสมัย ตอบโจทย์ทุกความต้องการของคุณ

บ้านไม้ยกพื้นสูง อย่าง “บ้านทรงไทย” คือแบบบ้านที่สามารถสะท้อนถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทยได้ดีทีเดียว ถึงแม้ในยุคสมัยนี้จะหาบ้านที่สร้างในรูปแบบบ้านทรงไทยได้น้อยลง เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับแบบบ้านที่เป็นรูปทรงอื่นๆ แต่เชื่อได้ว่ายังมีคนอีกจำนวนไม่น้อยที่ยังคงชื่นชอบบ้านสไตล์นี้ เพราะเป็นสัญลักษณ์รวมทั้งแสดงออกถึงความเป็นไทยอย่างชัดเจน ดังนั้น จึงมีหลักการออกแบบแปลนบ้านในรูปแบบทรงไทยรูปแบบใหม่ขึ้น เพื่อให้เหมาะกับการอยู่อาศัยในยุคนี้ คือนำมาประยุกต์ให้เข้ากับยุคสมัยมากขึ้น หรือที่เรียกกันว่า “บ้านทรงไทยร่วมสมัย” โดยยังคงความอ่อนช้อยไว้ทุกกระเบียดนิ้ว แต่ก็แฝงไปด้วยความแข็งแรงทนทาน พร้อมกับเน้นฟังก์ชั่นการใช้งานแบบทรงไทยไว้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง ซึ่งในส่วนข้อดีหลักๆ ของบ้านทรงไทยก็คือ ประหยัดงบประมาณค่าก่อสร้างเพราะเป็นบ้านที่มีลักษณะแบบบ้านชั้นเดียว ยกใต้ถุนสูง ที่สำคัญอีกอย่างก็คือบ้านทรงไทยเป็นแบบบ้านที่เหมาะสมต่อสภาพอากาศของประเทศไทยมากที่สุด แต่ส่วนจะมีข้อดีอย่างไรหรือจุดเด่นเหมาะสมขนาดไหนเพราะอะไรบ้าง ลองมาดูกัน


1. บ้านทรงไทยกับรูปแบบหลังคาทรงจั่วที่สามารถระบายความร้อนได้เป็นอย่างดี

บ้านไม้ยกพื้นสูง

หลายคนอาจจะมีข้อสงสัยว่าทำไมถึงได้ยินได้ฟังมาว่าบ้านทรงไทยเป็นแบบบ้านที่เหมาะสมกับสภาพอากาศของประเทศไทยที่อยู่ในภูมิประเทศที่แทบจะมีอากาศร้อนเกือบทั้งปี ทั้งนี้ อันดับแรกต้องบอกก่อนว่าแบบบ้านทรงไทยทั่วไปนั้นนิยมใช้วัสดุหลักทำจากไม้มาเป็นส่วนประกอบสำคัญในการสร้างบ้าน จึงสามารถช่วยคลายร้อนได้ดีกว่าการใช้วัสดุที่ทำมาจากคอนกรีตเหมือนบ้านทั่วไปในยุคปัจจุบัน เนื่องจากตัวของคอนกรีตมีคุณสมบัติในการอมความร้อนสูงกว่าวัสดุประเภทไม้ ฉะนั้น เมื่อเจออากาศที่ร้อนจัดมากๆ หรือมีแดดส่องช่วงกลางวันตลอด พื้นไม้ก็จะรับแสงแดดและสามารถคลายความร้อนได้รวดเร็วและเย็นตัวกว่าการใช้วัสดุชนิดอื่นๆ ส่งผลให้อุณหภูมิที่หมุนเวียนอยู่ภายในบ้านเย็นตัวไปด้วย

นอกจากนั้น ยังรวมไปถึงเรื่องโครงสร้างหลังคาทรงจั่วของแบบบ้านทรงไทยจะมีลักษณะที่สูงกว่าแบบบ้านอื่นๆ ด้วยพื้นที่โปร่ง มีพื้นที่จรดเพดานสูงขึ้นไป อย่างน้อยก็ไม่ต่ำกว่า 35 องศา ทำให้ระบายความร้อนได้เร็วเช่นกัน จึงเป็นอีกจุดหนึ่งที่นับว่าเป็นข้อดีของบ้านทรงไทยนั่นคือ การรับมือกับความร้อนได้เป็นอย่างดี อีกทั้งหลังคาทรงจั่วจะช่วยให้บ้านสามารถกักเก็บมวลอากาศไว้ในบ้านเปรียบเสมือนฉนวนกันความร้อน ผู้อยู่อาศัยภายในบ้านแทบจะไม่รู้สึกถึงไอความร้อนจากภายนอกเลย ยิ่งถ้าเป็นกรณีที่ปลูกบ้านทรงไทยและติดตั้งฉนวนกันความร้อน หรือเลือกใช้เป็นกระเบื้องหลังคาแบบสะท้อนความร้อนเข้าไปอีก เชื่อได้ว่าไม่ต้องเปิดแอร์ก็ยังไม่รู้สึกร้อนแม้จะเป็นวันที่มีแดดจัดก็ตาม ดังนั้น เราจึงสามารถสรุปได้ว่านอกจากเรื่องความเย็นสบายแล้วยังเป็นการช่วยประหยัดพลังงานอีกด้วย หากใครเคยมีโอกาสได้ไปเที่ยวหรืออาศัยอยู่บ้านทรงไทย จะเห็นได้ว่าบ้านทรงไทยจะไม่ค่อยนิยมติดเครื่องปรับอากาศเท่าไหร่ หรือถึงติดก็จะไม่ค่อยเปิดใช้งาน เพราะอากาศที่เวียนอยู่ภายในก็ทำให้เย็นสบายอยู่แล้ว


2. บ้านทรงไทยยกใต้ถุงสูงช่วยป้องกันอุทกภัยและสัตว์ร้ายได้

บ้านไม้ยกพื้นสูง

สิ่งที่หลายคนกังวลและเป็นห่วงเกี่ยวกับบ้านทรงไทยมากที่สุดก็คือ ในช่วงฤดูฝน สาเหตุมาจากโครงสร้างวัสดุส่วนใหญ่ที่นำมาใช้ในการสร้างบ้านจะเป็นไม้เกือบ 100% ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่มักจะเป็นเรื่องของความชื้นที่อาจทำให้ไม้บวมได้ นอกจากนั้น ยังมีปัญหาเรื่องพวกแมลงกินไม้ต่างๆ เช่น ปลวก มอดไม้ แต่หากว่าสร้างบ้านทรงไทยด้วยไม้ประเภท ไม้สัก ไม้มะค่า ก็ไม่ต้องห่วงเรื่องความแข็งแรง ทนทาน ด้วยไม้สามารถรับได้ทุกสภาพอากาศ แถมปลวกก็ยังไม่กินไม้ 2 ชนิดนี้อีกด้วย

บ้านทรงไทยยังมีจุดเด่นอีกอย่างคือ มักมีโครงสร้างใต้ถุนบ้านสูงกว่า 2 ม. เพื่อใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของคนในบ้าน เพราะอากาศใต้ถุนบ้านจะถ่ายเทสะดวก ทำให้เย็นสบาย เหมาะเป็นที่นั่งที่นอนเล่น และหากเกิดน้ำท่วมขังข้าวของในบ้านก็จะปลอดภัย ไม่เสียหายจากการถูกน้ำท่วม ที่สำคัญเวลาที่ฝนตกหนักจนกระทั่งน้ำท่วมขัง ย่อมมีพวกสัตว์มีพิษว่ายปะปนมากับน้ำ กรณีที่เป็นบ้านทั่วไปสัตว์เหล่านี้ก็จะหลุดลอดเข้าไปในบ้านได้อย่างง่ายดาย แต่บ้านทรงไทยที่มีใต้ถุนสูงๆ ระดับน้ำของน้ำท่วมจะไม่สามารถเข้าถึงตัวบ้าน และไม่ทำอันตรายกับผู้อยู่อาศัยได้


อย่างไรก็ตาม หากใครที่อยากได้บ้านใต้ถุนสูงแต่ไม่ชอบบ้านลักษณะที่สร้างเป็นทรงไทยก็ลองมองหาที่ดินเปล่า เพื่อปลูกบ้านสไตล์ที่ชอบ แต่ออกแบบให้ยกระดับพื้นบ้านขึ้นมาเพื่อป้องกันน้ำท่วมก็ได้ หรือถ้าไม่มีทุนสร้างบ้านใหม่ก็พิจารณาโครงการบ้านจัดสรรใหม่ๆ ที่มีเทคโนโลยีนวัตกรรมป้องกันความร้อนและอยู่ในทำเลที่น้ำท่วมไม่ถึง แต่ถ้าจะให้ดีอาจจะมองหาที่อยู่แนวสูงสไตล์คอนโดมิเนียมเลยก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยให้ปลอดภัยจากอุทกภัยและสิ่งต่างๆ ได้ เพราะจากสภาพพื้นใต้ดินของประเทศไทย โดยเฉพาะกรุงเทพฯ หลายพื้นที่เริ่มที่จะทรุดตัวลง ประกอบกับขยะมูลฝอยที่ค้างอยู่ในท่อระบายน้ำเยอะ ทำให้น้ำท่วมได้ง่ายในหลายพื้นที่


เรื่องที่ควรรู้เพิ่มเติมก่อนการออกแบบและสร้างบ้านไม้

การสร้างบ้านไม้มักเป็นที่นิยม เนื่องจากบ้านไม้มีช่องให้ลมผ่านเข้ามาได้สะดวกกว่าบ้านปูน และไม่รู้สึกอึดอัด โดยมีไม้ให้เลือกหลายรูปแบบ เช่น ก่อสร้างจากไม้ทั้งหลัง หรือชั้นล่างก่อสร้างด้วยปูนซีเมนต์ ส่วนชั้นบนทำเป็นโครงสร้างไม้ เป็นต้นการออกแบบและสร้างบ้านไม้ เป็นกระบวนการซับซ้อนที่ต้องใช้เวลาและการเตรียมความพร้อมก่อนเริ่มต้น ดังนั้น เราควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมในการสร้างบ้านไม้ เช่น วัสดุที่ใช้ในการสร้างบ้าน แนวทางการออกแบบบ้านไม้ในปัจจุบัน รวมถึงความรู้เกี่ยวกับการออกแบบและสร้างบ้านไม้ที่ปลอดภัย


วิธีสร้างบ้านไม้อย่างไร ให้เย็นสบาย

การสร้างบ้านไม้ เป็นที่นิยมอย่างมาก เนื่องจากบ้านไม้ให้ความรู้สึกเย็นสบายกว่าบ้านปูน โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อน การอยู่ในบ้านไม้มีพื้นที่เปิดกว้าง ทำให้ลมถ่ายเทได้ดีกว่าบ้านปูน ซึ่งทำให้ไม่รู้สึกอึดอัด และสะดวกต่อการหายใจ นอกจากนี้ การใช้ไม้เป็นวัสดุในการสร้างบ้านยังทำให้เกิดความสวยงามและอบอุ่น ลองมาดู วิธีสร้างบ้านไม้ที่คุณต้องรู้ หากอยากให้บ้านเย็นขึ้น

  • การเลือกพื้น – พื้นบ้านที่เป็นไม้นั้นมีข้อจำกัดในการต่อไม้แผ่นๆ เข้าด้วยกัน โดยเฉพาะตรงพื้นไม้ที่จะมีรอยต่อจำนวนมาก แนะนำให้ตีปิดฝ้าเพดานยิปซั่มหรือซีเมนต์บอร์ดใต้ตั้งไม้แทน และเสริมไม้โครงด้วยการปูฉนวนหรือช่องว่างระหว่างตั้งกับไม้โครงชุดใหม่ เพื่อช่วยลดเสียงกระทบจากพื้นในช่วงที่มีคนเดิน
  • การเลือกผนัง – การทำผนังซ้อนด้านในบ้านอีกชั้นและเสริมฉนวนกันความร้อนแทรกเข้าไประหว่างโครงคร่าวเป็นวิธีการแก้ปัญหาลมร้อนซึมเข้าสู่ภายในบ้านของบ้านไม้ โดยควรยึดแผ่นผนังผืนใหม่กับโครงเดิมหรือเสริมไม้ที่จำเป็น เพื่อหลีกเลี่ยงการเพิ่มภาระน้ำหนักให้กับโครงสร้างไม้
  • การเลือกหน้าต่าง – เมื่อหน้าต่างหันไปทางทิศตะวันตก ควรปิดใช้งานและซ้อนผนังทึบหรือลดขนาดบานหน้าต่าง แต่ถ้าหน้าต่างหันไปทางทิศเหนือ ควรเปิดให้รับแสงธรรมชาติได้มากขึ้นด้วยบานกระจก และเปลี่ยนเป็นกรอบวงกบ UPVC เพื่อป้องกันการรั่วซึมของอากาศ หรือปรับปรุงบานไม้เดิมด้วยการปรับขอบบานเป็นแบบบังใบและเสริมเส้นยางตลอดแนววงกบ เพื่อช่วยระบายความร้อน
  • การเลือกฝ้าเพดาน – การป้องกันความร้อนจากหลังคาเป็นสิ่งสำคัญในการลดอุณหภูมิและระบายความร้อนในบ้าน วัสดุ เช่น ซีเมนต์ใยหินหรือสังกะสีไม่สามารถป้องกันความร้อนได้ดีพอ การแก้ไขควรเลือกปรับเป็นฝ้าเพดานยิปซั่มหรือซีเมนต์บอร์ดแบบฉาบเรียบ พร้อมทั้งติดตั้งตัวฉนวนกันความร้อนเหนือแผ่นฝ้าเพดาน หากต้องการติดตั้งเครื่องปรับอากาศควรตรวจสอบตำแหน่งในการติดตั้งก่อน

วัสดุไม้ปูพื้น มีอะไรบ้าง ?

การเลือกและปูพื้นไม้ต้องใส่ใจในรายละเอียดทุกขั้นตอน เนื่องจาก การเลือกไม้ปูพื้น จะทำให้บ้านสวยงาม ซึ่งแบ่งไม้ได้เป็น 2 ประเภท คือ ไม้เนื้อแข็งเหมาะกับงานภายนอกและไม้เนื้ออ่อนเหมาะกับการทำเฟอร์นิเจอร์ แล้วพื้นไม้ยอดนิยมที่คนส่วนใหญ่นำไปใช้ปูพื้นบ้าน มีอะไรบ้าง

1. ไม้สัก (Teak wood) – ไม้สักเป็นไม้ที่มีความสวยงามและคุณสมบัติที่ดี คงทนต่อศัตรูของไม้ เช่น ปลวก แมลง และเห็ดรา และเหมาะกับการปูพื้นไม้ภายในห้องนอนมากกว่า

2. ไม้มะค่า (Makha wood) – ไม้เนื้อแข็ง เหมาะสำหรับการปูพื้นและทำเฟอร์นิเจอร์ เนื้อไม้มะค่าหนาแน่น มีลวดลายชัดเจน ทนทานต่อปลวกและมอด แต่ไม่ควรนำไปใช้ในการปูภายนอกอาคารและต้องระวังไม่ให้โดนแดดเพราะจะทำให้สีไม้ไม่สวยงาม

3. ไม้แดง (Iron wood) – ไม้แดงเป็นไม้เนื้อแข็งที่มีสีออกน้ำตาลแดงและมีจุดสีดำแทรกอยู่ในเนื้อไม้ มีความคล้ายกับไม้ประดู่ มีความแข็งแรงและต้านทานไฟ นิยมนำมาใช้ปูพื้นภายนอกบ้าน เช่น ระเบียง หรือขอบสระว่ายน้ำ

4. ไม้เต็ง (Shorea wood) – เหมาะสำหรับใช้กับงานภายนอกอาคาร เนื่องจากมีความแข็งแรงทนทาน ทนต่อแดดและฝนเป็นอย่างดี แต่ไม่ค่อยมีลวดลายสวยงามมากนัก อายุการใช้งานประมาณ 10-12 ปี บริเวณที่นิยมนำมาใช้งาน ได้แก่ ซุ้มระแนงไม้ พื้นระเบียงไม้ ประตูรั้ว

5. ไม้รกฟ้า (Rok-fa wood) – หรือไม้เชือก เป็นไม้เนื้อแข็งที่มีความละเอียดและเหนียวมาก สีจะออกน้ำตาลเข้มจนถึงดำ นิยมใช้ในบริเวณที่เป็นพื้นไม้ทั้งภายในและภายนอก โดยเฉพาะในส่วนที่เป็นพื้นระเบียง

6. ไม้ตะเคียน (Hopea wood) – ไม้ตะเคียนได้รับความนิยมในการสร้างบ้าน แต่ควรหลีกเลี่ยงการใช้ในบริเวณที่ต้องสัมผัสกับแดดและสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อยๆ เนื้อไม้ตะเคียนยืดหดตัวน้อยและทนต่อการทำลายของปลวกและแมลงกัดกินได้ดี

7. ไม้ประดู่ (Tabek wood) – ไม้ประดู่มีกลิ่นหอมและเนื้อไม้ออกหลายเฉดสี สามารถนำมาใช้ทำเป็นเฟอร์นิเจอร์หรือปูพื้นบ้านได้ทุกห้อง

เมื่อก่อสร้างบ้านด้วยไม้ ควรดูแลรักษาเนื้อไม้ โดยการทำความสะอาดด้วยใช้ครีมหรือน้ำมันรักษาเนื้อไม้ เพื่อช่วยให้ไม้ชุ่มชื่นและป้องกันการแตก ควรทำครั้งละไม่กี่เดือนหรือตามความเหมาะสม และทาน้ำยาป้องกันปลวกหรือมอดก่อนนำไม้มาใช้งาน ใช้สารป้องกันกำจัดแมลงที่เหมาะสมเพื่อป้องกันแมลงที่อาจทำลายเนื้อไม้ เช่น ปลวก มอด แมลง เชื้อรา หรือมด นอกจากนี้ ยังควรเคลือบผิวไม้เพิ่มความสวยงามและคงทนต่ออากาศได้นานขึ้น รวมถึงหมั่นตรวจสอบเนื้อไม้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการเกิดรอยแตกหรือสึกหรอ และซ่อมแซมในกรณีที่พบปัญหา


การสร้างบ้านไม้ โดยการป้องกันความร้อนเข้าสู่ตัวบ้านและเพิ่มความเย็นสบายให้กับภายในบ้านเป็นเรื่องที่สำคัญ ซึ่งวิธีการที่แนะนำมาในข้างต้นเป็นวิธีที่ช่วยลดความร้อนในบ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพตามที่เห็นผลชัดเจน แต่ก่อนที่จะเริ่มดำเนินการสร้างบ้าน ควรตรวจสอบโครงสร้างต่าง ฃๆ ก่อนว่าอยู่ในสภาพที่พร้อมสมบูรณ์ โดยไม่มีร่องรอยแตกร้าว บิดโก่ง หรือเสียหาย โดยเฉพาะเมื่อเป็นโครงสร้างบางส่วนที่อาจเสียหายได้ง่าย เช่น ถ้าเสาไม้มีรอยแตกหรือไหม้ หรือพื้นไม้บ้านมีรอยขีดข่วนหรือแตกอยู่ ก็ควรทำการซ่อมแซมเสียหายไว้ก่อน ด้วยการประกบเสริม ดาม หรือเปลี่ยนใหม่ เพื่อให้บ้านมีความปลอดภัยและทนทานกับสภาพอากาศ

และการปรับปรุงบ้านไม้ให้เย็นขึ้นเมื่อมีอากาศร้อน อาจทำได้โดยการเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสม เช่น การใช้วัสดุที่มีความสามารถในการสะท้อนแสงและน้อยลงในการกักเก็บความร้อน เช่น การใช้หลังคาเหล็กชั้นใต้หลังคาหรือการใช้วัสดุที่มีสีเข้ม เพื่อช่วยลดการสะท้อนแสง นอกจากนี้ การปลูกต้นไม้รอบบ้าน และการใช้วัสดุที่เหมาะสมในการกักเก็บความร้อน เช่น การใช้วัสดุกันความร้อนบนผนังหรือหลังคา จะช่วยลดการกักเก็บความร้อนและช่วยปรับสภาพอากาศภายในบ้านให้เย็นขึ้นได้รวมถึงการปลูกต้นไม้รอบบ้านและการใช้ม่านบางชนิด สามารถช่วยลดการเข้าของแสงและความร้อนลง ซึ่งทำให้บ้านไม้ของคุณเย็นขึ้นและมีสภาพอากาศที่ดีขึ้นได้

เขียนโดย Con Mueangsak

โฟร์แมนเป็นงานประจำ เขียนบทความเกี่ยวกับช่างและงานก่อสร้างเป็นงานเสริม รักการก่อสร้างเป็นชีวิตจิตใจ สนใจติดต่องานก่อสร้างติดต่อในอีเมลได้เลยครับ ผู้เขียนเว็บไซต์ Constructacon

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save