บทความอัพเดทล่าสุดเมื่อ September 30, 2023

ฮวงจุ้ยหน้าบ้าน เสียเพราะถนนสูงกว่าบ้านจะมีวิธีการแก้ไขอย่างไร มาดูกัน!

ฮวงจุ้ยหน้าบ้าน เป็นเรื่องที่เราควรใส่ใจเพราะป็นจุดยุทธศาสคร์ที่สำคัญที่สุดของบ้าน นอกจาหนี้เรื่องของปัญหาบ้านที่ตั้งอยู่ริมถนนย่อมหนีไม่พ้นเรื่องเสียงรบกวนและฝุ่นควันที่มาจากรถราขับผ่านไปมา นอกจากนั้นถ้าเป็นถนนสายหลักที่รถใหญ่ๆอย่างรถบรรทุกวิ่งผ่านด้วยแล้ว บ้านจะเกิดการสั่นไหว สุดท้ายก็จะเกิดปัญหาบ้านร้าวตามมา ยิ่งไปกว่านั้นบ้านที่สร้างมาสักระยะเวลาหนึ่งแล้วมักจะมีการเทปรับระดับความสูงของถนนเพิ่มขึ้นครั้งละประมาณหนึ่งฟุต หรือมีการเทถนนใหม่ ส่งผลให้บ้านชั้นล่างต่ำกว่าถนนทันที เมื่อมีฝนตกหนักแน่นอนอยู่แล้วว่า น้ำระบายไม่ทันก็จะเอ่อไหลเข้าท่วมตัวบ้านชั้นล่าง ถึงแม้ว่าเจ้าของบ้านจะมีการเตรียมการป้องกันไว้ด้วยการทำคันคอนกรีตกั้นน้ำ แต่น้ำก็ยังคงซึมจากพื้นบ้านตามขอบมุมพื้นผนังและรอยยาแนวกระเบื้องได้อยู่ดี แต่ท่านเจ้าของบ้านไม่ต้องกังวลจนถึงขั้นต้องขายบ้านย้ายหนี เพราะเรื่องถนนสูงกว่าบ้านเป็นปัญหาที่เราสามารถแก้ไขได้ถึง 3 แนวทาง เรามาดูกันดีกว่าว่ามีแนวทางไหนบ้าง เผื่อที่จะได้นำไปประยุกต์ใช้กับสถานการณ์จริงกันดูค่ะ


แนวทางที่ 1 ปรับยกระดับพื้นบ้าน

แนวทางที่ 1 ปรับยกระดับพื้นบ้าน

ก็คือการยกระดับพื้นบ้านชั้นล่าง ให้มีความสูงเท่าระดับถนน แต่อาจจะเหมาะกับบ้านที่มีระดับความสูงที่ไม่ต่างกันมากนัก อย่างน้อยก็ประมาณครึ่งถึงหนึ่งฟุต สาเหตุเพราะเมื่อเราปรับระดับให้พื้นบ้านสูงขึ้นจะมีผลกระทบต่อความสูงโดยรวมของทั้งห้องทำให้ห้องมีความสูงไม่มากเท่าไหร่นัก และมีปัญหาที่เกิดตามมาคือ

  1. เพดานจะดูเตี้ยลงทำให้รู้สึกอึดอัด
  2. ประตูหน้าต่างก็จะเตี้ยลงทำให้คนภายนอกที่จะมองเข้ามาภายในบ้านได้ง่ายขึ้น หลายบ้านก็มักกังวลเรื่องความปลอดภัย ซึ่งวิธีแก้ไขก็อาจจะต้องถอดบานประตูออกมาแล้วตัดช่วงล่างให้พอดีกับความสูงของพื้นที่เพิ่มขึ้น
  3. ระยะตำแหน่งของปลั๊กไฟเดิมก็จะสูงขึ้นกว่าพื้นเพียงเล็กน้อย อาจจะต้องย้ายมาติดตั้งให้ตำแหน่งที่สูงขึ้น
  4. กรณีที่เป็นบ้านสองชั้น บันไดที่ขึ้นชั้นบนก็จะหายไปถึงสองขั้น
  5. เกิดความต่างของระดับพื้นบ้านกับพื้นห้องน้ำทำให้ความสะดวกในการใช้งานลดน้อยลง

ถ้าเป็นเจ้าของบ้านเดี่ยวที่พอมีงบประมาณอาจเลือกใช้เป็นวิธีดีดยกบ้านทั้งหลังทีเดียว คือตัดโครงสร้างช่วงบริเวณเสาตอม่อเพื่อแยกตัวบ้านออกจากฐานราก แล้วค้ำยันไฮโดรลิค ยกบ้านขึ้นในระดับความสูงที่ต้องการ หลังจากนั้นก็ใช้โครงสร้างเสริมสอดเข้าไปรับส่วนเสาตอม่อที่ถูกตัดแยกออกมา ให้น้ำหนักตัวบ้านถ่ายลงฐานรากของบ้าน

และถ้าความสูงของถนนมากกว่าครึ่งถึงหนึ่งเมตร ก็ควรต้องมานั่งพิจารณาดีๆก่อนว่าความสูงของบ้านชั้นล่างเสียก่อน เพราะถ้าจะยกพื้นบ้านให้สูงขึ้นเท่าๆกันกับถนนก็จะต้องทุบพื้นเก่าทิ้งก่อน แล้วหล่อคานปูนเสริมจากคานเดิมให้มีระดับสูงขึ้นหรือ ทำคานเหล็กยึดกับเสาบ้านให้ได้ระดับความสูงตามต้องการหลังจากนั้นถึงทำพื้นบ้านชั้นล่าง ด้วยการเทพื้นปูน หรือจะเลือกเป็นวิธีวางตงเหล็กพาดเข้าบนแนวคานชุดใหม่ แล้วปูด้วยแผ่นสามาร์ทบอร์ดเป็นพื้นในลักษณะพื้นโครงสร้างเบาก็ได้ แต่ต้องทำใจไว้ด้วยว่าพื้นโครงสร้างเบาจะรับน้ำหนักบบรทุกได้น้อยกว่าพื้นปูนและยังเพิ่มภาระน้ำหนักให้กับโครงสร้างบ้านเดิมน้อยกว่าพื้นปูนเช่นเดียวกัน

ข้อควรระวัง ในการที่จะแก้ไขปัญหาเรื่องเพดาน หน้าต่างเตี้ย ย้ายปลั๊กไฟ จะต้องมีวิศวกรเข้ามาตรวจสอบ ประเมินดูว่าสามารถแก้ไขตามความต้องการของเจ้าของบ้านได้หรือไม่ เพราะทุกอย่างจะต้องอยู่ภายใต้พื้นฐานของความปลอดภัยเสมอ บางท่านคิดว่าน่าจะดำเนินการเปลี่ยนได้เลยแต่ปัญหาเรื่องโครงสร้างไม่ใช่เรื่องเล่นๆที่ประมาทไม่ได้เลย


แนวทางที่ 2 ปรับการใช้สอยพื้นที่ภายในบ้าน

แนวทางที่ 2 ปรับการใช้สอยพื้นที่ภายในบ้าน

วิธีนี้เจ้าของบ้านอาจจะต้องทำใจยินยอมให้น้ำไหลผ่านเข้าบ้านได้อย่างสุดวิสัย สิ่งเดียวที่ทำได้ก็คงเป็นเรื่องของการทำใจและปรับเปลี่ยนพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านเสียใหม่ เช่น

  1. เปลี่ยนเฟอร์นิเจอร์ภายในบ้านที่มีขาสูงขึ้นและสามารถแช่น้ำได้ไม่พังง่าย
  2. เปลี่ยนชั้นวางของที่เป็นตู้ไม้ เป็นชั้นวางของแบบที่ยึดติดกับผนังน่าจะช่วยได้มากกว่า
  3. พื้นที่ใช้ปูควรเป็นกระเบื้องจะเหมาะสมกว่า เพราะทำความสะอาดได้ง่าย
  4. พยายามอย่ากองของที่ไม่จำเป็นไว้บนพื้น

แนวทางที่ 3 ปรับปรุงพื้นที่โดยรอบตัวบ้าน

แนวทางที่ 3 ปรับปรุงพื้นที่โดยรอบตัวบ้าน

วิธีนี้ก็คือไม่ต้องไปยุ่งกับตัวบ้านเลย แต่ใช้เป็นการจัดการรอบๆบริเวณบ้านแทน ด้วยการทำขอบคันกั้นและขุดบ่อดักน้ำเอาไว้ หลังจากนั้นก็ใช้ปั้มสูบน้ำออกมาภายนอกบริเวณบ้าน

หากพื้นบ้านชั้นล่างต่ำกว่าถนน แต่โชคดีที่ไม่เจอปัญหาน้ำท่วมขังรั่วซึมจากพื้น ก็ลองเลือกใช้เป็นการทำโครงเหล็กยกสูงตามความต้องการติดตั้งบนพื้นบ้านเดิม ปูด้วยแผ่นพื้นซีเมนต์บอร์ด พื้นแบบนี้จะมีข้อดีตรงน้ำหนักเบา และยังสามารถที่จะเดินท่องานระบบใต้พื้นได้ แต่ข้อควรระวังคือพื้นลักษณะนี้จะแบบรับน้ำหนักไม่ได้มาก

ปัญหาเรื่องถนนสูงกว่าพื้นบ้านก็เปรียบเสมือนปัญหาโลกแตก เพราะถนนส่วนใหญ่มักที่จะมีการทำท่อระบายน้ำใหม่ภายหลังจากที่บ้านสร้างเสร็จแล้วเสมอ เจ้าของบ้านเองก็คงต้องหาวิธีในการแก้ปัญหาและรับมือไว้ให้พร้อม เพื่อที่จะได้ไม่เกิดปัญหาสะสมต่อไปเรื่อยๆค่ะ

 

 

เขียนโดย Con Mueangsak

โฟร์แมนเป็นงานประจำ เขียนบทความเกี่ยวกับช่างและงานก่อสร้างเป็นงานเสริม รักการก่อสร้างเป็นชีวิตจิตใจ สนใจติดต่องานก่อสร้างติดต่อในอีเมลได้เลยครับ ผู้เขียนเว็บไซต์ Constructacon

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save